รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมจุฬาฯ ขอเชิญชมนิทรรศการ “ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ” ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม – 27 ธันวาคม 2567 ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น. ปิดให้บริการ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ พิธีเปิดนิทรรศการในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น.
นิทรรศการ “ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ” เป็นนิทรรศการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ พิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ พิพิธพัสดุ์ ไท-กะได คณะอักษรศาสตร์
ภายในนิทรรศการจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัตถุหรือสิ่งของ เพื่อให้นิสิตได้เห็นวิวัฒนาการหรือลักษณะสภาพของสิ่งนั้นเพื่อใช้ในการศึกษา กลุ่มวัตถุและสิ่งของที่รวบรวมมาจากงานวิจัย และกลุ่มที่สาม งานศิลปกรรม วัตถุ รวมทั้งภาพเขียน ประติมากรรม และเอกสารจดหมายเหตุฯ
เนื้อหาพิเศษภายในห้องนิทรรศการคือ พิพิธภัณฑ์พกพา Museum in the box การพกพาความรู้และแรงบันดาลใจจากพิพิธภัณฑ์ที่สามารถแบ่งปันกันได้ทุกที่ ภายใต้แนวคิดพิพิธภัณฑ์พกพา “Chula museum in the box” ซึ่งเป็นผลงานของนิสิตสาขาวิชานิทรรศการศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนำจุดเด่นและเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจจากพิพิธภัณฑ์มาบรรจุลงในกล่องรูปแบบต่าง ๆ เช่น บรรจุลงในกระเป๋าเดินทาง กล่องสามมิติ หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย รวมถึงพกพาความรู้และความสนุกไปหาผู้ชมในสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการลงมือที่ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
นิทรรศการในครั้งนี้เป็นการเชื่อมองค์ความรู้ของแต่ละพิพิธภัณฑ์ให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลร่วมกัน
ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการครั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โทร. 0-2218-3645-6
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิเศษ โชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้