ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน Chula Research & Grant Day ชี้แจงนโยบายการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยรอบด้าน

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน Chula Research & Grant Day เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  เพื่อชี้แจงนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยประเภทต่าง ๆ ในทุกระดับ ภายในงานมีการให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทุนประเภทต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนแก่คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตอย่างทั่วถึง เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดสรรทุนวิจัยจากหน่วยสนับสนุนต่างๆ อาทิ สำนักบริหารวิจัย (สบจ.) สำนักบริหารวิชาการ (สบว.) สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ สำนักงาน C2F (CU, the Second Century Fund Office) บัณฑิตวิทยาลัย และกลุ่มยุทธศาสตร์วิจัย รวมทั้งเชิญชวนให้อาจารย์และนักวิจัยที่มีศักยภาพสูงยื่นโครงการขอรับการสนับสนุนเพื่อดำเนินงานวิจัยที่มีผลกระทบและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ

          ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับและให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับทุนสนับสนุน เกณฑ์การรับสมัคร รวมถึงการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยให้เหมาะสมกับขนาดของโครงการ โดยมี ศ.ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิต ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม และ รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงาน C2F แนะนำทุนและหน่วยงานวิจัยที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมงาน มีคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตให้ความสนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก

          ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการรวมพลังของชาวจุฬาฯ ที่อยากเห็นจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยอย่างแท้จริง และมีความเข้มแข็งในเรื่องของงานวิจัย จุฬาฯ ให้การสนับสนุนคณาจารย์ นักวิจัยทุกท่านที่จะทำงานในจุฬาฯ การจัดงานในครั้งนี้ผู้มาร่วมงานได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยน สอบถามเกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยต่าง ๆ จุฬาฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ชี้นำสังคม  ในฐานะ Research University That Leads  และเปลี่ยนแปลงโลกได้เกิดจากนักวิจัย ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต้องการนักวิจัยที่เป็นผู้นำและสร้างผลงานวิจัยให้กับจุฬาฯ เรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่สำคัญเท่ากับผลงานวิจัยที่ทำให้จุฬาฯ เป็นที่พึ่งของสังคม “งานวิจัยของท่านมีคุณค่า จุฬาฯ ยินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่”

        ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ที่สำคัญต้องขอบคุณผู้บริหารและนักวิจัยที่ให้ความสนใจมาร่วมงานอย่างล้นหลาม ผู้ร่วมงานได้สอบถามในสิ่งที่อยากรู้ ซึ่งได้รับคำตอบที่ตรงตามที่ต้องการ ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีมาก  วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้เพื่อชี้แจงนโยบายที่ชัดเจนของมหาวิทยาลัยในการให้การสนับสนุนงานวิจัยแก่คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตในทุกระดับโดยไม่มีการตัดทุนสนับสนุนแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมุ่งหวังให้ทุนวิจัยอย่างเต็มที่ รวมทั้งมีการเพิ่มช่องทางการให้ทุนวิจัยอีกด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับทุนสนับสนุนการวิจัย Research & Innovation CU ได้ที่ Line @cu.research

สรุปข้อมูลทุนสนับสนุนการวิจัย วิชาการ และการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • สำนักบริหารวิจัย มีทุนสนับสนุน 7 ทุน

1. ทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

        สำหรับปีที่ 1 เปิดรับ 3 รอบ/ปี รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2567 รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2568 และรอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2568

          สำหรับปีที่ 2 และ 3 ผู้ขอรับทุนวิจัยต้องยื่นขอภายใน 3 เดือนหลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานของปีก่อนหน้า

2. ทุนสนับสนุนวิจัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          เปิดรับพร้อมทุน Fundamental Fund ประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี

3. ทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          เปิดรับตลอดทั้งปี

4. ทุนกลุ่มวิจัย (CE RU STAR) กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Center of Excellence : CE) หน่วยปฏิบัติการวิจัย (Research Unit : RU) และกลุ่มวิจัย (Special Task Force for Activating Research : STAR) โดยทั้ง 3 กลุ่ม เปิดรับ 2 รอบ/ปี รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคมของทุกปี และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ของทุกปี

5. ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          เปิดรับ 2 รอบ รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2567 และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2568

6. การสนับสนุนการประชุมและเสนอผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          เปิดรับตลอดทั้งปี

7. การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช

          เปิดรับตลอดทั้งปี

          ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.research.chula.ac.th/funding-ora/

          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cu.research

  • สำนักบริหารวิชาการ มีทุนสนับสนุน 2 ทุน

1. ASEAN or NON-ASEAN Countries

          ทุนแก่ชาวต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและนอกอาเซียนมาศึกษาระดับปริญญาโท หรือ เอก เต็มเวลา ที่จุฬาฯ ทุนภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2567 (เข้าศึกษาเดือนมกราคม 2568)  สมัครผ่านระบบ Grantgateway ได้ที่ เว็บไซต์ grantgateway.research.chula.ac.th โดยระบบจะเปิดให้สมัครระหว่างวันที่ 9-31 ตุลาคม 2567

 2. ทุนสมทบสำหรับอาจารย์ นักวิจัย หรือศิลปินจากต่างประเทศ กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ 

          ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.academic.Chula.ac.th

  • สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ มีทุนสนับสนุน 1 ทุน

1. ทุน Chula Global Strategic Collaboration Award 2025 Call

        สำหรับอาจารย์และนักวิจัย เปิดรับทุนช่วงเดือนพฤษภาคม และปิดรับช่วงเดือนตุลาคม

          ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cornell.infoready4.com/#competitionDetail/1939422

2. ฐานข้อมูลทุนวิจัยออนไลน์ Sponsored Programs Information Network (SPIN)

          สามารถสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตัวเอง

          ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://spin.infoedglobal.com/Authorize/Login

          หรือติดต่อได้ที่โทร. 0-2218-3124

          E-mail: GRIP.OIA@chula.ac.th

          เว็บไซต์: https://www.inter.chula.ac.th/global-research-innovation/

3. ข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าของนิสิตและบุคลากรต่างชาติ

          สามารถสืบค้นได้ที่ https://www.inter.chula.ac.th/one-stop-service/visa/

          หรือติดต่อได้ที่โทร 0-2218-3127

          E-mail: visa_oia@chula.ac.th

  • บัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนทุนการศึกษา 10 ทุน และทุนอุดหนุนการวิจัย 2  ทุน

     ทุนสนับสนุนทุนการศึกษา

1. ทุนอุดหนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา (สำหรับปริญญาโท)

2. ทุนอุดหนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

          เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา

(สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก)

3. ทุนอุดหนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          เพื่อมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ (สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก)

4. ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตระดับปริญญาเอกและปริญญาโท

          สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย

5. ทุนอุดหนุนการศึกษาเฉพาะค่าเล่าเรียนประเภท 60/40

6. ทุนการศึกษาเพื่อนิสิตปริญญาตรี โปรแกรมเกียรตินิยม

7. ทุนการศึกษาหลักสูตรสหวิทยาการ 60 ปี บัณฑิตวิทยาลัย

8. ทุนผู้ช่วยสอน 

9. ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่มีความสามารถด้านกีฬา

10. ทุนการศึกษาร่วมผลิตบัณฑิตคุณภาพสูง 60 ปี บัณฑิตวิทยาลัย

          ทุกทุน สำหรับนิสิตปริญญาโท เปิดรับตามกำหนดรับสมัคร

          ดูรายละเอียดกำหนดรับสมัครได้ที่ https://www.grad.chula.ac.th/scholarship.php?type=1

     ทุนอุดหนุนการวิจัย

1. ทุนสนับสนุนนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตมหาบัณฑิตไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศ

2. ทุนสนับสนุนนิสิตระดับปริญญาเอกและโทไปทำวิจัยในต่างประเทศ

          ทุกทุน สำหรับนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก เปิดรับทุนตลอดทั้งปี

          ติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มภารกิจส่งเสริมสนับสนุนบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย โทร. 0-2218-3502  

          E-mail: kingkaew.u@chula.ac.th

  • กลุ่มยุทธศาสตร์วิจัย สำนักบริหารวิจัย สนับสนุน 4 ทุน

1. Publication Reward (20% up)

2. International Symposiums

3. Adjunct Professor

4. Exchange Faculty Travel Grant (In and Out)

          ทุนสำหรับอาจารย์และนักวิจัย เปิดรับทุนตลอดทั้งปี

          ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักบริหารวิจัย โทร. 0-2218-0426  

          E-mail: Peerasit.S@chula.ac.th, Manunchaya.N@chula.ac.th

  • สำนักงานแผนงาน C2F มีทุนสนับสนุน 4 ทุน

1. ทุนนิสิตปริญญาเอกศักยภาพสูง (PhD)

2. ทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอกศักยภาพสูง (Postdoc)

3. ทุน Top-Professor

         ทุนสนับสนุนเพื่อรับอาจารย์ นักวิจัย นวัตกร หรือศิลปินศักยภาพสูงในการสร้างผลงานระดับนานาชาติ โครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2

4. ทุน Conducting Research Abroad

         ทุนทำวิจัยในต่างประเทศสำหรับนิสิตและนักวิจัย

         ดูรายละเอียดกำหนดรับสมัครได้ที่: https://c2f.chula.ac.th/

         ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานแผนงาน C2F โทร. 0-2218-3233    

E-mail: c2f@chula.ac.th

         

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า