รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 พฤษภาคม 2562
ข่าวเด่น
ผศ.พงศกร ยิ้มสวัสดิ์ และ ผศ.นภัส ขวัญเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติบริเวณ สระน้ำจุฬาฯ เปิดเผยว่า ซุ้มเฉลิมพระเกียรตินี้เป็นสัญลักษณ์อันเป็นรูปธรรมซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในการออกแบบได้นำเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่สำคัญซึ่งตั้งอยู่ในแนวแกนหลักของมหาวิทยาลัย คือ หอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ เป็นแนวคิดหลัก
ผศ.พงศกร อธิบายว่า “ซุ้มเฉลิมพระเกียรติเปรียบได้กับแบบจำลองของหอประชุมจุฬาฯ ลักษณะของซุ้มจะดูคล้ายกับเคลื่อนเอามุขด้านหน้าของหอประชุมจุฬาฯ ยื่นออกมา มีหลังคาของหอประชุมและหมู่อาคารเทวาลัยซ้อนอยู่เป็นพื้นหลัง แม้จะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่บดบังหอประชุม แต่ได้ทำการหยิบยืมรูปแบบและบรรยากาศจากหอประชุมด้านหลังมาใช้ในการออกแบบซุ้ม ใช้ประเด็นเรื่องขนาดสัดส่วนนำไปจนถึงบรรยากาศการประดับตกแต่ง เชื่อมโยงของที่อยู่คนละระนาบเข้าด้วยกัน กรอบพระบรมฉายาลักษณ์แลดูคล้ายกับมีหอประชุมเป็นฉากหลัง เปรียบได้กับพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลที่มีอาคารหอประชุมเป็นฉากหลัง พื้นที่ตรงกลางของซุ้มเฉลิมพระเกียรติเป็นการนำเส้นโค้งที่เป็นกรอบของมุขด้านหน้าของหอประชุมจุฬาฯ ที่มีสัญลักษณ์พระเกี้ยว มาใช้เป็นกรอบประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ ลวดลายต่างๆ ได้แนวคิดมาจากกรอบลวดลายท่อนพวงมาลัยของเวทีหอประชุมจุฬาฯ ด้านล่างเป็นตัวอักษร “ทรงพระเจริญ” ส่วนปีกทั้งสองข้างของซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เปรียบได้กับปีกด้านข้างของหอประชุมจุฬาฯ ที่ต่อเป็นเฉลียงออกมา ด้านบนเป็นพนัก ประดับด้วยเสาโคมดวงประทีปลดหลั่นลงมา ด้านล่างสุดเป็นพนักลูกกรงซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบได้ทั้งที่หอประชุมจุฬาฯ และหมู่อาคารเทวาลัย”
โครงสร้างของซุ้มเฉลิมพระเกียรติเป็นเหล็กที่มั่นคงแข็งแรง รูปลักษณ์ภายนอกใช้วัสดุสังเคราะห์แทนไม้อัด มีการเขียนลวดลายต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ และใช้เครื่องเลเซอร์ยิงเป็นลวดลาย สีที่ใช้เป็นสี ซึ่งสอดคล้องกับหอประชุมจุฬาฯ เน้นกรอบพระบรมฉายาลักษณ์เป็นสีทอง แสดงถึงความเรียบง่ายสง่างาม
“การออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ มีเรื่องราวทรงคุณค่าที่แทรกอยู่ในประวัติศาสตร์และความภาคภูมิใจของจุฬาฯ ซุ้มเฉลิมพระเกียรตินี้สามารถนำมาปรับใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้” ผศ.พงศกร กล่าว
ด้านการออกแบบตัวอักษรในซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ผศ.นภัส เผยว่า ตัวอักษร “ทรงพระเจริญ” มีการออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของจุฬาฯ โดยพัฒนาจากสัดส่วน ความกว้างและความสูงของช่องระหว่างเสามุขหน้าอาคารหอประชุม ส่วนความกว้างของตัวอักษรได้มาจากความกว้างของเสามุขนั้นเช่นกัน นอกจากนี้ส่วนโค้งต่าง ๆ ของตัวอักษรก็พัฒนามาจากส่วนโค้งของรวยระกา การขมวดหัวของตัวอักษรก็ประดิษฐ์จากจากวิธีการขมวดของลวดลายของอาคารหอประชุมจุฬาฯ
“ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วเมื่อผมเป็นนิสิตสาขาสถาปัตยกรรมไทยรุ่นแรก รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี และ อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี อาจารย์ผู้สอนทางด้านสถาปัตยกรรมไทย (ปัจจุบันทั้งสองท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ) ได้ให้โจทย์แก่นิสิตในการออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติในโอกาสงานเฉลิม พระชนมพรรษา เพื่อติดตั้งบริเวณหน้าสระน้ำจุฬาฯ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผมไม่นึกว่าจะมีโอกาสได้ทำหน้าที่ออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติอีกครั้ง เป็นความรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้ใช้วิชาความรู้ในการทำงานตอบแทนสถาบันที่ได้ร่ำเรียนมา” ผศ.นภัส กล่าว
นอกจากนั้นยังได้มีการชวนนิสิตลงไปดูการติดตั้งโครงสร้างและการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งผลพลอยได้จากการออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้คือ เป็นอุปกรณ์ในการเรียนการสอน อาจารย์ก็ได้นำประสบการณ์จากการทำงานจริงให้กับมหาวิทยาลัยมาให้คำแนะนำในการวิจารณ์งานของนิสิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทยด้วย เพื่อนำประสบการณ์นี้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพจริง
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้