ข่าวสารจุฬาฯ

“หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ที่ชุมชนถนนสายไม้บางโพ” โครงการจากคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างสร้างสรรค์

“โครงการหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์” ที่ชุมชนถนนสายไม้บางโพ  เป็นโครงการล่าสุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่สร้างผลกระทบทางสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการร่วมกับสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครและชุมชนถนนสายไม้บางโพ ในการยกระดับอาชีพและความเชี่ยวชาญงานไม้ของบางโพ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือผู้ว่างงานหรือไม่มีงานประจำให้ได้เรียนทักษะงานไม้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติและสอนโดยช่างและผู้ประกอบการจากบางโพที่เปลี่ยนบทบาทจากช่างและผู้ประกอบการมาเป็นผู้สอนและถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกับวิชาการพื้นฐานการออกแบบของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้โครงการการยกระดับและขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ในโครงการวิจัย”การยกระดับและขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย: การเรียนรู้งานไม้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสร้างอาชีพจากย่านถนนสายไม้บางโพ ชุมชนประชานฤมิตร”

พิธีมอบวุฒิบัตรผู้สำเร็จการอบรม “หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์”
ณ ศูนย์การเรียนรู้หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์บางโพ ชุมชนประชานฤมิตร

หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ ถูกออกแบบร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและช่างบางโพกับนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ปรับเปลี่ยนพื้นที่โกดังไม้เก่าในชุมชน เป็นพื้นที่การเรียนการสอนและปฏิบัติงานไม้ กำหนดเรียนเป็น 16 คาบ ใน 8 วัน เรียนจากการใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายกับไม้ไปสู่การทำชิ้นงาน โดยเน้นการเพิ่มทักษะจากการปฏิบัติงานไม้จริงโดยชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดหลัก ผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ว่างงานหรือไม่มีงานประจำที่สำเร็จหลักสูตร ได้รับวุฒิบัตรจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสามารถนำวุฒิบัตรนี้สมัครงานได้โดยตรงที่ชุมชนบางโพเพื่อสร้างเป็นอาชีพและสืบสานภูมิปัญญางานไม้

ผลลัพธ์ของโครงการนี้เป็นประโยชน์แก่บุคคลและภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

– ผู้ว่างงานซึ่งเป็นผู้เรียนได้รับทักษะงานไม้และสามารถสมัครงานเป็นอาชีพได้ที่บางโพ

– ช่างไม้และผู้ประกอบการในบางโพ เปลี่ยนบทบาทจากช่างและผู้ขายมาเป็นผู้สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายหลังโครงการนี้ผู้ประกอบการได้เปิดพื้นที่อบรมและสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเองในชุมชน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจท้องถิ่นและทำให้งานไม้กลับมาเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่

– ร้านค้าในชุมชน ได้แลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในชุมชนเพื่อร่วมกันสอนและจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนและเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน

– ชุมชนถนนสายไม้บางโพ สามารถดำเนินการไปสู่ความเป็น “ย่านสร้างสรรค์” ตามแผนงานที่ร่วมกันกำหนดขึ้นกับทีมวิจัยจากจุฬาฯและภาคีเครือข่าย โดยจัดการประกวดแบบและทำต้นแบบ “เก้าอี้” โดยชุมชน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ชุมชนร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่สามารถนำเสนอ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ได้อย่างยั่งยืน

– กรุงเทพมหานคร ได้สนับสนุนให้เกิดการนำภูมิปัญญาและช่างฝีมือมาต่อยอดไปสู่อนาคตและสามารถทำให้เกิดอาชีพกับกลุ่มคนที่ยังขาดโอกาสได้

โครงการนี้เป็นโครงการเล็ก ๆ ระดับชุมชนที่ทดลองนำความภูมิใจในงานไม้และอาชีพของตน มาเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นอีกหลายแห่งในประเทศให้พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของตนและเพิ่มโอกาสให้กับผู้อื่นในสังคมต่อไป

อบรมหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์บางโพ (Bang Pho Creative Woodworking Course)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า