รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤษภาคม 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุม 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดอบรม “โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System ครั้งที่ 5” ในหัวข้อ “Publishing Academic Research and knowledge Dissemination in the Academy” โดยมี ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ – “Strategic Direction” โดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ และ Prof.Christian Wagner, Associate Provost (Quality Assurance) City, University of Hong Kong – “Research Dissemination in Science and Technology” โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ – “Research Dissemination in Social Sciences and Humanities” โดย Prof.Sankar Sen Zicklin, Chair in Corporate Integrity and Governance, Baruch College/CUNY; Research Fellow, SASIN/CU; Associate Editor, Journal of Consumer Research. Prof. Bharat Dahiya, Series Editor, SCOPUS-indexed Springer Nature book series, “Advances in 21st Century Human Settlements”, Thammaset University และ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ ผู้อำนวยการศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่ได้รับการอ้างอิงผลงานสูงสุดในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โครงการ “การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและสร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพในการวิจัย กระตุ้นและผลักดันให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีแนวคิดการดำเนินงานวิจัย ได้เรียนรู้และเพิ่มทักษะของการเป็นนักวิจัยมืออาชีพจากนักวิจัยพี่เลี้ยง (mentors) และได้รับการเกื้อหนุนติดตามจากโค้ชในแต่ละสาขาหรือมหาวิทยาลัย รวมถึงหัวหน้าทีมโค้ช (head coach) ในแต่ละภาคพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของการทำงานวิจัยแบบบูรณาการผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายวิจัย การประชุมและเวทีเสวนา และสามารถยกระดับคุณภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ในอนาคต โดยโค้ชในแต่ละสาขาหรือมหาวิทยาลัย รวมถึงหัวหน้าทีมโค้ชทำหน้าที่ดูแลติดตามตลอดกระบวนการเพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จสูงสุด
โครงการนี้ได้จัดอบรมมาแล้ว 4 ครั้ง สามารถติดตามการอบรมได้ดังนี้ • การอบรมครั้งที่ 1 เรื่อง “เริ่มต้นโครงการวิจัยอย่างไรให้มีชัย” เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ลิงก์ : https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-1/ • การอบรมครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “หลักจริยธรรมพื้นฐานและการทบทวนพิจารณาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์” เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ลิงก์ : https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-v-2/ • การอบรมครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “บริหารโครงการวิจัยอย่างไรให้สัมฤทธิผล” เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ลิงก์ :https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-v-3/ • การอบรมครั้งที่ 4 หัวข้อ“แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2562 ลิงก์ :https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-v-4/
“CU Blood : Dare to Give กล้าที่จะให้” จุฬาฯ ชวนบริจาคโลหิต ปลุกพลังแห่งการให้ ต่อชีวิตคนไทย
22 พ.ย. 67
ลาน Block I สยามสแควร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนา “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด”
29 พ.ย. 67 เวลา 09.00 น.
ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2567
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย “Life & Line เส้นสายลายอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่น” และการแสดงเปียโนคอนแชร์โตเพลงไทย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
อธิการบดีจุฬาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “Digital Branding Excellence: Leveraging Chulalongkorn University’s Vision for Global Recognition” ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้