รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ตุลาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ข่าวสารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ 10 ข่าวเด่นประจำเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2567 รวมถึงความสำเร็จทางการศึกษา นวัตกรรม วิจัย และกิจกรรมในจุฬาฯ
https://www.chula.ac.th/news/187707/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2501 – 2516 โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ในงานมีการขับร้องและบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์และบทเพลงไพเราะโดยวงดนตรี CU Band และวงดนตรีพี่เก่า OCU Band ในปีนี้มีการแสดงพิเศษจากวงโยธวาทิตของโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม และการแสดงบัลเลต์จากภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งนำการแสดงระบำชุด “กีนรีสวีท” มาประกอบบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยมีการบริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล มีผู้สนใจเข้าชมการแสดงอย่างคับคั่้ง
https://www.chula.ac.th/news/186066/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธานในพิธี เพื่อเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และพ้นจากหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุราชการ พ้นสภาพ ลาออก หรือถึงแก่กรรม ในปีนี้มีบุคลากรจุฬาฯ ได้รับเข็มทองคำเกียรติคุณจำนวน 206 คน
https://www.chula.ac.th/news/187281/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสัมมนาสภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหาร “Journey to Chula 111” ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารจุฬาฯ และได้เห็นภาพที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนจุฬาฯ ให้มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมไทยได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน รวมถึงถ่ายทอดนโยบายและกำหนดทิศทางสู่ปีที่ 111 ของจุฬาฯ โดยมี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้กล่าวกล่าวต้อนรับ และปาฐกถาเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลงของโลกกับการปรับตัวของจุฬาฯ : Chula Journey to the Whole New World” ในงานมีการบรรยายโดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อต่าง ๆ
https://www.chula.ac.th/news/173370/
https://www.chula.ac.th/news/174273/
https://www.chula.ac.th/news/182154/
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 1 – 3 ภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจและตอบโจทย์ความท้าทายในยุคปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมความเป็นสากลและสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาฯ กับองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ งาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 1 จัดขึ้น ในหัวข้อ “Leadership in a Disruptive World: พร้อมเป็นผู้นำบนโลกแห่งความไม่แน่นอน” โดย Prof. Dr. Michelle Bligh ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำจาก Claremont Graduate University ครั้งที่ 2 หัวข้อ “Revolutionizing the Future: An Exclusive Talk with Andrew Ng on Opportunities and Business Preparedness” โดย Dr. Andrew Ng ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์จาก Stanford University และครั้งที่ 3 หัวข้อ “Learning How to Learn” โดย Dr. Barbara Oakley ศาสตราจารย์จาก Oakland University, Michigan ที่มีชื่อเสียงในการสอนหลักสูตรออนไลน์ “Learning How to Learn”
https://www.chula.ac.th/news/188127/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับบริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) ร่วมมือทางวิชาการในโครงการ “การสร้างโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้จากคอร์สออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม LinkedIn Learning” เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ณ อาคารจามจุรี 4 โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และคุณภัทรเสฏฐ หนุนภักดี Country Lead of LinkedIn Thailand เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรจุฬาฯ พัฒนาทักษะด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และทักษะทางเทคโนโลยี ผ่านคอร์สออนไลน์ที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาบนแพลตฟอร์ม LinkedIn Learning โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล
https://www.chula.ac.th/news/184101/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) เตรียมแผนพัฒนามหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาจุฬาฯ ให้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบของประเทศไทยที่บูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาผังแม่บทและการออกแบบอาคารตามมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการใช้พลังงานและน้ำ ลดของเสียและมลพิษ และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในด้านก่อสร้างและสถาปัตยกรรมในสถาบันการศึกษาไทย นอกจากนี้ยังยังส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาคมจุฬาฯ อีกด้วย
https://www.chula.ac.th/news/181995/
https://www.chula.ac.th/news/181863/
https://www.chula.ac.th/news/181431/
https://www.chula.ac.th/news/180783/
จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “HPAIR Asia Conference 2024” ระหว่างวันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2567 ด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ภายใต้ธีม “Reimagining Connectivity: Building Bridges in a Globalized Society” เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตจุฬาฯ และนักศึกษาจากทั่วโลกได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้นำองค์กร นักวิชาการ และนักธุรกิจชื่อดัง ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของจุฬาฯ ในการขับเคลื่อนสู่เวทีวิชาการระดับโลก โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวปิดงานและมอบรางวัล Best Speaker และ Impact Challenge แก่นักศึกษาผู้ชนะเลิศ
https://www.chula.ac.th/news/183165/
ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “Chula MOOC Flexi” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) ซึ่งเป็นโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล (Digital Lifelong Learning Solutions for all) ตอบโจทย์ทักษะแห่งอนาคตด้วยการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่น สามารถสะสมหน่วยกิตได้ตามความสะดวกของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้การศึกษาด้านดิจิทัลเป็นที่เข้าถึงได้สำหรับทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนิสิต นักศึกษา บุคลากร หรือผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯด้กล่าวเปิดโครงการ รศ.ประมา ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวแสดงความยินดีและสนับสนุนโครงการ
https://www.chula.ac.th/news/188061/
งาน Bangkok Car Free Day 2024 บนถนนบรรทัดทอง ซึ่งจัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ 21 – 22 กันยายน 2567 ได้รับความสนใจจากประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมงานและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงความสำเร็จของการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนถนนบรรทัดทองให้เป็นถนนคนเดินและต้นแบบถนนแห่งความสุข เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างยั่งยืน
https://www.chula.ac.th/news/183237/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแสดงความยินดีแก่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันที่เป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 “ปารีสเกมส์” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 โดย ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวต้อนรับ กล่าวแสดงความขอบคุณและแสดงความยินดีกับนักกีฬาโอลิมปิกของจุฬาฯ รวมทั้งสวมเสื้อสามารถให้พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ซึ่งคว้าเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 2024 จากกีฬาเทควันโด รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ มอบของที่ระลึกให้นักกีฬาจุฬาฯ ที่ร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 จากนั้นนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันนักกีฬาโอลิมปิกจากจุฬาฯ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Work-Life Balance กับ Chula Olympic Heros” ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร
จุฬาฯ – มหิดล ร่วมมืองานวิจัย RUN: One Health เรื่องโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
Siam Square Countdown 2025 ณ สยามสแควร์ ถนนแห่งความสุขที่เปิดโอกาสให้ทุกคน
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คนใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ สวัสดีปีใหม่ 2025
จุฬาฯ-NTU ร่วมมือซ่อมฝายชะลอน้ำในจังหวัดน่าน พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
พิธีเปิดงาน SIAM SQUARE CHRISTMAS & HAPPY NEW YEAR 2025 ส่งความสุขปีใหม่สุดประทับใจ ณ สยามสแควร์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้