รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น
นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับสภากาชาดไทยและโรงพยาบาลศิริราช จัดโครงการ “Dogcoola ร่วมแรงร่วมใจ บริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือสังคมและส่งต่อสวัสดิภาพสัตว์” ระหว่างวันที่ 1 – 30 ตุลาคม 2567 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นให้ประชาชนร่วมบริจาคโลหิต เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโลหิต
Dogcoola เป็นชื่อโครงการที่นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทีม Vet Blood Cell มุ่งรณรงค์ให้มีการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีปริมาณโลหิตสำรองเพียงพอสำหรับการรักษาผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็เน้นการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ด้วย โดยจะมีการมอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและอาหารสัตว์ให้กับมูลนิธิที่ให้การช่วยเหลือสัตว์จรจัดหลังสิ้นสุดกิจกรรม
กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ Dogcoola
สำหรับกิจกรรม “VET วัดใจ” ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกของโครงการ ทีม Vet Blood Cell จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญชวนผู้สนใจมาร่วมแคมเปญ “Dogcoola” ซึ่งเป็นแคมเปญที่ทำให้การบริจาคโลหิตของคุณมีความหมายมากขึ้น การบริจาคโลหิต 1 ครั้ง ไม่เพียงช่วยชีวิตคนได้ถึง 3 ชีวิต แต่ยังช่วยเหลือชีวิตที่ 4 ซึ่งคือน้องหมาและแมวจรจัด ด้วยการส่งต่อเป็นอาหารและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ไฮไลท์ของโครงการ Dogcoola
สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของทีม Vet Blood Cell ได้ที่ Facebook : Vet Blood Cel lhttps://www.facebook.com/profile.php?id=61565685160002
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ จัดงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบทวิภาค
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้