รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น สามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที
การเสวนาวิชาการ Chula the Impactในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยของจุฬาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ตามพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ เปิดเผยว่าการดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม (Chula Disaster Soluion Network: Digital War Room) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนที่ 1 ระบบการเตือนภัยและขอความช่วยเหลืออย่างเฉพาะเจาะจงตำแหน่ง ด้วยการบูรณาการแผนที่ภูมิสารสนเทศ ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีความอ่อนไหวได้อย่างแม่นยำ และให้คำอธิบายประกอบจากผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูม ส่วนที่ 2 ระบบการจัดสรรทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการ ทั่วถึงและทันท่วงที ส่วนที่ 3 ระบบการถอดบทเรียนและสร้างการเรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องการเตือนภัย การกู้ภัย การขนย้ายและอพยพ การบรรเทาทุกข์ การฟื้นฟูหลังพิบัติ จนถึงการที่จะเยียวยาธรรมชาติในระยะยาว โดยอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในจุฬาฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
สำหรับนวัตกรรมแพลตฟอร์มสำหรับป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย จุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูมที่นำมาสาธิตในงานเสวนาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัยได้อย่างแม่นยำ พัฒนาขึ้นโดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งปัจจุบัน ถูกนำไปเสริมการช่วยเหลือในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ กล่าวว่าข้อมูลภูมิประเทศที่ใช้ในการเตือนภัยในแพลตฟอร์มนี้แบ่งออกเป็น ชุดข้อมูลเตือนภัยดินโคลนไหลหลากและน้ำป่า ประกอบด้วย ตำแหน่งรูรั่วของมวลน้ำจากภูเขาสูงที่ราบ แนวไหลหลากของมวลน้ำ หมู่บ้านที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติดินโคลนไหลหลาก และชุดข้อมูลเตือนภัยน้ำท่วม ประกอบด้วย แนวร่อง แนวเนิน จุดเสี่ยงถนนขาด และจุดแนะนำในการอพยพ นอกจากนี้ยังมีแนวน้ำหลาก ในกรณีที่น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนในกรณีที่คันดิน กั้นน้ำแตก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย โดยมีแผนจะจัดทำชุดข้อมูลเพิ่ม เพื่อสื่อสารและเตือนภัยพิบัติดินถล่ม สึนามิ และแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยจากจุฬาฯ และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ทำงานร่วมกันในรูปแบบดิจิทัลวอร์รูม เมื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนที่จุดเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและการแจ้งเตือนว่าจะเกิดเหตุ ระบบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในแพลตฟอร์มที่มีรายละเอียดเฉพาะเจาะจงจะเป็นประโยชน์ในการอพยพและการเตือนภัยในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ในดิจิทัลวอร์รูมจะมีการสื่อสารถึงคนในพื้นที่ที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรงเพื่อประสานขอความช่วยเหลือในด้าน ต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย อาสาสมัครจะลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ และส่งเข้ามาที่วอร์รูม
แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ประเทศไทยรับมือเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคตได้ ภัยที่มากับฝนตกหนักไม่ได้มีแค่น้ำท่วมสูง แต่ยังมีดินถล่ม ดินโคลนไหลหลาก นวัตกรรมหรือชุดข้อมูลที่จัดทำขึ้นจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ว่ามีโอกาสได้รับภัยอะไรบ้าง หนักเบาแค่ไหน เมื่อประชาชนรู้ตัวและปฏิบัติตาม รวมทั้งหากภาครัฐมีนโยบายหรือแนวทางการอพยพที่มีประสิทธิผล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้