รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ผศ. ดร. ดรูว์ บี. มัลลอรี
งานวิจัยของ ผศ.ดร.ดรูว์ บี. มัลลอรี (Dr. Drew B. Mallory) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ เผยถึงความซับซ้อนระหว่างวัฒนธรรม สังคม และประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างด้านการรับรู้ โดยเน้นย้ำว่าโครงการฝึกอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความสามารถและโอกาสได้
ผศ.ดร.ดรูว์ บี. มัลลอรี อาจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่ Neurodiversity at Work Research Centre (NWRC) ได้ศึกษาวิจัยประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างด้านการรับรู้ ซึ่งเป็นการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทย ความแตกต่างด้านการรับรู้ หมายถึงความแตกต่างตามธรรมชาติในการทำงานของสมองและลักษณะทางพฤติกรรม รวมถึงภาวะต่าง ๆ เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะอ่านหนังสือไม่ออก คาดว่ามีอยู่ประมาณ 15-20% ของประชากรโลกซึ่งเทียบเท่ากับประชากรประมาณ 10-14 ล้านคนในประเทศไทย แม้จะเป็นเช่นนี้ นายจ้างในประเทศไทยมักลังเลที่จะจ้างผู้ที่ความแตกต่างด้านการรับรู้ เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถและสิ่งที่นายจ้างอาจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการจ้างงานผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
นอกจากนี้ครอบครัวและผู้ดูแลยังประสบกับความเครียดทางสังคมและการเงินเมื่อต้องดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ เนื่องจากความเห็นเชิงลบจากสังคมและองค์กรและการขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล งานวิจัยของ ผศ.ดร.ดรูว์ เป็นหนึ่งในการศึกษาเพียงไม่กี่ชิ้นที่เน้นเรื่องของผู้ที่มีความแตกต่างด้านการรับรู้และผู้ดูแลในประเทศไทย และรวมถึงมุมมองของทั้งครอบครัวชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศไทย
ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PLOS One ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ การสนับสนุน และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้และผู้ดูแลในประเทศไทย
การศึกษาของ ผศ. ดร.ดรูว์ มีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ดูแลและผู้ได้รับการดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ที่ยังไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ และผู้ดูแลที่ได้รับการดูแลซึ่งได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมงานมาแล้ว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวคิดทางวัฒนธรรม เช่น เรื่อง “กรรม” และ “การรักษาหน้า” อาจนำไปสู่การตีตรา การปฏิเสธ และความลังเลในการเข้ารับการวินิจฉัยในระยะเริ่มต้นและการเข้ารับการบริการต่างๆ ซึ่งเกิดจากทัศนคติทางสังคมเชิงลบต่อความหลากหลายทางการรับรู้และความพิการ อย่างไรก็ตาม มุมมองบางอย่างของผู้ดูแลที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมได้เปลี่ยนไปตามระยะเวลา จากเดิมที่มองว่าความผิดปกติทางระบบประสาทเป็นเรื่องของผลกรรม ไปสู่มุมมองใหม่ว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาเติบโตไปสู่การยอมรับ
“ถึงจะไม่น่าแปลกใจที่ความเชื่อทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ของผู้ดูแล แต่ระดับที่ความเชื่อทางวัฒนธรรมส่งผลต่อผู้ดูแลในประเทศไทยนั้นถือเป็นเรื่องที่น่าสังเกต การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการทำความเข้าใจปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการสนับสนุนที่สอดคล้องกับบริบทในท้องถิ่น รวมทั้งครอบคลุมถึงผู้ดูแลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ” ผศ.ดร. ดรูว์ กล่าว
การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้ต้องเผชิญในชีวิต เช่น การเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา และโอกาสในการทำงานที่จำกัด
งานวิจัยของ ผศ. ดร.ดรูว์ ไม่เพียงแต่เน้นย้ำถึงความท้าทายที่ผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้ต้องเผชิญเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นผลกระทบเชิงบวกของโครงการฝึกอบรมงานเฉพาะทางที่ส่งผลต่อผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้และผู้ดูแลด้วย “เราพบว่าผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้ประสบความสำเร็จในโครงการฝึกอบรมงานเฉพาะทางที่ศูนย์ชุมชนในกรุงเทพฯ เกินความคาดหวังของญาติ ผู้ปกครองและผู้ดูแล การได้เห็นศักยภาพและความสามารถในการทำงานของคนที่พวกเขารักมีแนวโน้มที่จะทำให้ความเชื่อเดิมเกี่ยวกับความหมายของความแตกต่างทางการรับรู้เปลี่ยนไป และช่วยให้เปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ที่พวกเขาดูแลสามารถทำได้” ดร. ดรูว์อธิบาย
งานวิจัยของ ผศ. ดร.ดรูว์ เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการหาแนวทางที่สามารถช่วยให้ผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้ในประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งโอกาสในการทำงานสำหรับพวกเขายังคงมีจำกัด และการฝึกอบรมส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนไม่เพียงพอและไม่สามารถเข้าถึงได้ การจัดระบบการศึกษาควรให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาล โรงเรียน โครงการฝึกอบรมงาน และนายจ้าง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมและลดทอนข้อจำกัดต่างๆ
“ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยอมรับความหลากหลายของความแตกต่างทางการรับรู้ ความหลากหลายในมนุษย์ และตระหนักถึงความสามารถและคุณค่าของพวกเขาทั้งที่บ้านและในที่ทำงานของเรา รัฐบาลไทยควรลงทุนในโครงการฝึกอาชีพที่สามารถเข้าถึงได้ และธุรกิจควรให้โอกาสและการสนับสนุนพนักงานที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ เราสามารถสร้างผลกระทบแบบลูกโซ่ที่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวและสังคมโดยรวมด้วย” ผศ. ดร.ดรูว์กล่าว
การศึกษานี้ไม่เพียงแต่เปิดเผยถึงความท้าทายที่ผู้ดูแลและผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ต้องเผชิญเท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้สำหรับผู้กำหนดนโยบาย โครงการสนับสนุน และการวิจัยในอนาคตในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิจัยอย่างต่อเนื่องของ ผศ.ดร. ดรูว์ และ NWRC เกี่ยวกับระบบนิเวศการจ้างงานของผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้ผู้จ้างงานนำแนวทางปฏิบัติและแนวคิดแบบ inclusive ไปใช้ ซึ่งศศินทร์เป็นสถาบันสอนบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่นำนโยบายสนับสนุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและความเสมอภาค โดยใช้ชื่อว่า IDEALS ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วม (Inclusion) ความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equity) และการเข้าถึงการเรียนรู้ที่ศศินทร์ (Access to Learning at Sasin) สำหรับพนักงานและนิสิต ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับในด้านต่าง ๆ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้