รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการฝึกอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับอินเดียดั้งเดิมและสมัยใหม่ และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ นายนาเคศ สิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เป็นประธานในงานครั้งนี้ งานในครั้งมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงาน เช่น นางสาวศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ นายสุศิล ธานุกา ประธานหอการค้าอินเดีย-ไทย และนายสุนิว โคธารี ผู้อุปถัมภ์มูลนิธิอินเดียศึกษา (ประเทศไทย) รศ.ดร.ปาลนี อัมรานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
โครงการฝึกอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและอินเดีย
โครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษาของอินเดียให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้สร้างเครือข่ายและความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับอินเดียในมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะในการสอนโครงการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ตุลาคม 2567 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยมูลนิธิอินเดียศึกษา (ประเทศไทย) ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายในการยกระดับการเรียนการสอนภาษาฮินดีในประเทศไทย โดยการจัดตั้ง “ICCR Chair of Hindi” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านอินเดียและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาฮินดีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าการอบรม “พิพิธภารัต 2567” เป็นโอกาสสำคัญสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมถึงการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของอินเดียในยุคสมัยใหม่ นอกจากนี้การจัดตั้ง ICCR Chair of Hindi ยังเป็นการยกระดับการเรียนการสอนภาษาฮินดีในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับอินเดีย ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมอินเดียได้อย่างลึกซึ้ง และเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นในอนาคต
รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการ“พิพิธภารัต 2567” ว่า “พิพิธภารัต” เป็นงานอบรมครูจากทั่วประเทศ มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประเทศไทยและอินเดีย การอบรมนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียในด้านต่าง ๆ เช่น อาหารอินเดีย ภาษาอินเดีย วัฒนธรรม และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีความสนใจร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับอินเดียและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในอนาคต
รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ตำแหน่งอาจารย์ภาษาฮินดีแห่ง ICCR ในครั้งนี้จะทำให้คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดียในการส่งชาวอินเดียมาสอนภาษาฮินดีในคณะ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์ที่ได้มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากประเทศอินเดีย ซึ่งการเรียนรู้ภาษาฮินดีจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของอินเดีย
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้