ข่าวสารจุฬาฯ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ บริษัท ซียู นิเทด เอ็กซ์เทนชั่น จำกัด ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติด้านภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ณ ลิโด้ คอนเน็คท์ โดยมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน คุณชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ตัวแทนคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์สาขาภาพยนตร์และซีรีส์ กล่าวรายงาน คุณประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต้อนรับ ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ให้มุมมองที่น่าสนใจแก่นักเรียนที่ร่วมโครงการ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย
1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้างแรงงานที่มีทักษะสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ผ่านการพัฒนาทักษะด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์ โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องและการผลิตภาพยนตร์สำหรับผู้เข้าร่วมทุกระดับ โดยมุ่งสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ นอกจากนี้หลักสูตรยังครอบคลุมมากกว่าความรู้พื้นฐาน เพราะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาเป็นวิทยากรอบรมเพิ่มพูนทักษะอีกด้วย


ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
อธิการบดีจุฬาฯ

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้แสดงมุมมองที่น่าสนใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการว่า สำหรับผู้ที่ได้เข้าร่วมหลักสูตรนี้ไม่เพียงจะได้ทักษะด้านภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านซอฟต์พาวเวอร์ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ดึงดูดความสนใจจากต่างชาติและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ซึ่งสิ่งสำคัญคือควรมีการสร้างแบรนด์และนำเสนอตัวตนของตนเอง ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร โครงการนี้จึงออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคตพวกเขาอาจเติบโตขึ้นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีความสามารถภายใต้การสนับสนุนและชี้แนะแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากโครงการนี้



กิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีดังนี้

หลักสูตรต้นแบบที่ได้รับรองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 หลักสูตร ประกอบด้วย

  1. หลักสูตรต้นแบบวิชาการกำกับการแสดงเบื้องต้น 101/2567  (Basic Acting Direction 101/2024 : Prototype Curriculum)
  2. หลักสูตรต้นแบบการวิชาสื่อสารวิสัยทัศน์เบื้องต้น 101/2567 (Basic Visualization for Director 101/2024 : Prototype Curriculum)
  3. หลักสูตรต้นแบบวิชาการเบรคดาวน์และจัดตารางการถ่ายทำ ปรับปรุง 2567 (Breakdown and Scheduling (Update 2024) : Prototype Curriculum)
  4. หลักสูตรต้นแบบการวางแผนและบริหารงบประมาณการผลิต  ปรับปรุง 2567 (Movie Production Budgeting (Update 2024) : Prototype Curriculum)
  5. หลักสูตรต้นแบบการจัดองค์ประกอบภาพและมุมกล้องที่สื่อความหมายเบื้องต้น 101/2567 (Basic Cinematography Directing 101/2024 : Prototype Curriculum )

VDO Course Online ที่จัดทำโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 5 คอร์ส

  1. การกำกับการแสดงเบื้องต้น 101/2567  (Basic Acting Direction 101/2024)
  2. การสื่อสารวิสัยทัศน์เบื้องต้น 101/2567  (Basic Visualization for Director 101/2024)
  3. การเบรคดาวน์และจัดตารางการถ่ายทำ ปรับปรุง 2567 (Breakdown and Scheduling Update 2024)
  4. การวางแผนและบริหารงบประมาณการผลิต ปรับปรุง 2567 (Movie Production Budgeting Update 2024)
  5. การจัดองค์ประกอบภาพและมุมกล้องที่สื่อความหมายเบื้องต้น 101/2567 (Basic Cinematography Directing 101/2024 )

กิจกรรมเสวนาและอบรมของสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 2 รายการ

  1. 10 Slides of Mistakes (อบรมการกำกับการแสดงประจำปี 2567)
  2. CENTER OF THE STORMS (อบรมการวางแผนการถ่ายทำ 2567)

กิจกรรมเสวนาของสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ 7 รายการ

  1. นักเขียนบทสู่นักเขียนเอไอ
  2. นักเขียนบทสู่โชว์รันเนอร์
  3. นักเขียนบทสู่นักเขียนนิยาย
  4. นักเขียนบทสู่นักเขียนออนไลน์
  5. นักเขียนบทสู่ WEBTOON CREATOR
  6. นักเขียนบทสู่นักเขียนวาย
  7. นักเขียนบทสู่ตลาดโลก

กิจกรรมค่ายของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ค่าย

  1. Nitade X3 Film Camp Bangkok (ค่ายค้นพบตัวตน ผ่านเลนส์ภาพยนตร์ กรุงเทพฯ)
  2. Nitade X3 Film Camp Khon Kaen (ค่ายค้นพบตัวตน ผ่านเลนส์ภาพยนตร์ ขอนแก่น)
  3. Nitade CommXpert (สื่อสารเป็น เห็นผล ในทุกวิชาชีพ)
  4. Chiangmai Fantastic Film Lab (โครงการอบรมและประกวดการสร้างหนังแนว Fantastic Films)

ทุกกิจกรรมเปิดให้เข้าร่วมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและการเปิดรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/commartschulaofficial/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า