ข่าวสารจุฬาฯ

กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลกจากดอยสอยมาลัย – หลังคาเมืองตาก ค้นพบโดยอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติระดับ Q1

ทีมวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ และ รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Graduate School of Human and Environmental Studies มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น นักวิจัยจากสถาบันอื่น และหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันศึกษาและตั้งชื่อกะท่างน้ำจากดอยสอยมาลัย ซึ่งเป็นกระท่างน้ำชนิดใหม่ของโลกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จังหวัดตาก ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย การค้นพบกะท่างชนิดใหม่ของโลกนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติระดับ Q1 (ZooKeys 1215: 185–208)

https://doi.org/10.3897/zookeys.1215.116624

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2558 มีการเผยแพร่ข่าวการพบกะท่างน้ำบริเวณยอดดอยสอยมาลัย ทำให้ทีมวิจัยนำโดย รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ และ รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดตามข่าวดังกล่าวเพื่อค้นหากะท่างน้ำชนิดนี้เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนยอดดอยสอยมาลัย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และค้นพบกะท่างน้ำตัวเต็มวัยและตัวอ่อนอยู่ในแอ่งน้ำบนถนนหลังจากการค้นหามานานหลายปี กะท่างน้ำชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบว่า “กะท่างน้ำดอยสอยมาลัย” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tylototriton soimalai เพื่อเป็นเกียรติแก่ดอยสอยมาลัย

กะท่างน้ำดอยสอยมาลัยมีลักษณะสัณฐานที่แตกต่างจากกะท่างน้ำชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน โดยมีลักษณะเฉพาะคือ หัวมีความยาวมากกว่าความกว้าง ปลายจมูกทู่หรือเป็นปลายตัด สันกระดูกกลางหัวแคบ สั้น และชัดเจน แนวสันกระดูกข้างหัวเด่นชัดและขรุขระ มีต่อมพิษหลังตาที่เห็นได้ชัดเจน สันกระดูกสันหลังเด่นชัด กว้าง และไม่แบ่งเป็นท่อน มีต่อมพิษข้างลำตัว 14–16 ตุ่มซึ่งมีลักษณะกลมและแยกออกจากกัน ยกเว้นส่วนหลังที่เชื่อมต่อกัน     สีพื้นลำตัวเป็นสีดำและส่วนอื่น ๆ มีสีส้ม การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลในยีน NADH dehydrogenase subunit 2 (ND2) ในไมโทคอนเดรีย พบว่ากะท่างน้ำดอยสอยมาลัยเป็นชนิดที่แยกต่างหาก โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกะท่างน้ำเหนือ (T. uyenoi) มากที่สุด โดยมีความแตกต่างของลำดับพันธุกรรม 4.1%

ปัจจุบันการค้นพบกะท่างน้ำดอยสอยมาลัยนี้ยังอยู่ในวงแคบเฉพาะบริเวณยอดดอยสอยมาลัยเท่านั้น ยังไม่มีการค้นพบในพื้นที่อื่น ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์และดูแลพื้นที่ดังกล่าวให้ปราศจากการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งกะท่างน้ำดอยสอยมาลัยจะอาศัยอยู่ในบริเวณแอ่งน้ำบนถนนเพื่อสืบพันธุ์และการเติบโตของตัวอ่อนจนกว่าจะถึงระยะโตเต็มวัย

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกะท่างน้ำ

กะท่างน้ำหรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า “crocodile newt” เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกลุ่มหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกับกบ เขียด และคางคก โดยมีรูปร่างลำตัวยาว ขามีทั้งขาหน้าและขาหลัง หางยาว หัวกลมมน มีผิวหนังค่อนข้างแห้งและขรุขระ มีตุ่มเรียงเป็นแถวอยู่ด้านข้างตัว ออกลูกเป็นไข่ที่มีเปลือกเป็นวุ้น ตัวอ่อนเติบโตในน้ำและมีพู่เหงือกทั้งสองข้างของส่วนหัว ซึ่งจะหายไปหรือลดรูปเมื่อเข้าสู่ระยะตัวเด็กและตัวเต็มวัยที่จะอาศัยอยู่บนบก

เอกสารอ้างอิง

Pomchote P, Peerachidacho P, Khonsue W, Sapewisut P, Hernandez A, Phalaraksh C, Siriput P,  Nishikawa K. 2024. The seventh species of the newt genus Tylototriton in Thailand: a new species (Urodela, Salamandridae) from Tak Province, northwestern Thailand. ZooKeys 1215: 185–208. https://doi.org/10.3897/zookeys.1215.116624

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า