รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 พฤษภาคม 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานแถลงข่าวการค้นพบกิ้งกือไทย 91 ชนิดใหม่ของโลก ในการประชุมวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (IBD 2019)
ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ทำการศึกษาความหลากหลายของสปีชีส์กิ้งกือในประเทศไทย จนค้นพบกิ้งกือชนิดใหม่ของโลกถึง 91 สปีชีส์ และตั้งสกุลใหม่ 8 สกุล กิ้งกือหลายชนิดที่ค้นพบใหม่มีความโดดเด่นสวยงามไม่แพ้กิ้งกือมังกรสีชมพู ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็น 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่ของโลก ประจำปี 2551 จากสถาบันนานาชาติเพื่อการสำรวจสิ่งมีชีวิต (IISE)
ปัจจุบันมีการรายงานการค้นพบกิ้งกือทั้งหมด 228 สปีชีส์ทั่วประเทศ โดยได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการไปมากกว่า 34 เรื่อง ทำให้ตัวอย่างกิ้งกือของไทยที่นำมาศึกษาและเก็บรวบรวมไว้มีความสมบูรณ์และมีจำนวนมากที่สุดในโลก และสามารถเข้ามาใช้เป็นฐานข้อมูลที่สำคัญของการศึกษากิ้งกือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในอนาคต :ซึ่งกิ้งกือมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่า ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช เศษใบไม้ที่ร่วงหล่น อินทรียวัตถุต่างๆ ให้กลายเป็นธาตุอาหารหมุนเวียนกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง จนได้รับการขนานนามว่า “โรงงานผลิตปุ๋ยเคลื่อนที่”
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ “ไฮยีนา” ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
จุฬาฯ จัดประชุมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568
“Songkran X Pride Festival 2025” ร่วมสาดความสุขในงานสงกรานต์ 11 เมษายนนี้
11 เม.ย. 68
ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาฯ
วารสารภาษา สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “Authoring Manuscripts” เสริมทักษะการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
อธิการบดีจุฬาฯ เข้าพบหารือเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด สานสัมพันธ์การศึกษาไทย-สเปน
จุฬาฯ กระชับความร่วมมือ IE University Top 10 ของโลกด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ ก้าวสู่เครือข่ายวิชาการระดับโลก
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้