ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือ Ocean Negative Carbon Emissions (ONCE) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Ocean Negative Carbon Emissions (ONCE) ซึ่งรับรองโดย Global Ocean Negative Carbon Emissions (Global-ONCE) Program ภายใต้กรอบการดำเนินงานทศวรรษแห่งบทบาทของวิทยาศาสตร์มหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดย IOC-UNESCO (Intergovernmental Oceanographic Commission of the United Nations Educational Scientific and Cultural Organization)

ONCE เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและวิจัยกว่า 33 ประเทศ ในการลงนามครั้งนี้มี ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ Prof.Tingwei Luo, President of Research Center for Ocean Negative Carbon Emissions, Xiamen  (ONCEXM)  ร่วมลงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ณ China Hall of Science and Technology กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ รศ.ดร.เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ด้วย

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งและดำเนินการ ONCE Asia Hub ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือในการดำเนินงานกับ Research Center for Ocean Negative Carbon Emissions, Xiamen (ONCEXM) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและถ่ายทอดความรู้ในระดับภูมิภาคเอเซียทางด้านการปล่อยคาร์บอนเชิงลบจากมหาสมุทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพด้านการลดการปล่อยคาร์บอน เพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมหาสมุทรและภูมิอากาศ รวมทั้งพัฒนาวิธีการแก้ไขเพื่อบรรเทาและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ความร่วมมือนี้ยังเน้นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาตรี ทั้งนี้เพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมหาสมุทร ซึ่งจะมีคุณค่าสำหรับการกำหนดกลยุทธ์และกรอบการบริหารจัดการที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทรและภูมิอากาศของโลก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า