รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “จุฬาฯ ชวนสื่อฯ จิบน้ำชายามบ่าย” เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 11.30 – 13.00 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จัดโดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ เพื่อกระชับสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาร่วมงานครั้งนี้
ทั้งนี้ภายในบริเวณงานมีการแสดงนิทรรศการ “ปฏิทินจุฬาฯ” นำเสนอหลากหลายผลงานนวัตกรรมของจุฬาฯ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม รวมทั้งมีการบรรเลงดนตรีไทยโดยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ “วงเภตรา” สร้างบรรยากาศให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับสื่อมวลชน และแสดงความยินดีที่ได้เปิดบ้านต้อนรับสื่อมวลชน โดยได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยภายใต้นโยบาย “Chula Power of Togetherness” ที่มุ่งเน้นการเติบโตของจุฬาฯ ในทุกมิติ โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง ทั้งการเติบโตในระดับนานาชาติ สู่การเป็น Global-Thai University การเติบโตที่ส่งผลกระทบต่อสังคม สู่การเป็น The Most Admired University การเติบโตจากภายใน สู่การเป็นองค์กรของคนเก่งและคนดี การเติบโตแบบบูรณาการ สู่การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับหน่วยงานภายนอก และนิสิตเก่าทั่วประเทศที่แข็งแกร่ง และการเติบโตทางปัญญา มุ่งเน้นที่การบ่มเพาะนิสิตและบัณฑิตจุฬาฯ สู่การเป็นนิสิตและเป็นบัณฑิตที่มีความฉลาด และความเชี่ยวชาญ มีความเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ พร้อมแสดงวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่การเป็น “AI University” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ตอบโจทย์สังคมยุคดิจิทัล และเตรียมความพร้อมให้นิสิตมีทักษะและความรู้ด้าน AI
“การนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ AI University ผมไม่ได้มองว่าเป็นพลังการขับเคลื่อนเฉพาะทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงาน โดยมี AI เป็นตัวเสริมไม่ใช่ตัวหลัก เราต้องเข้าใจว่า AI มีบทบาทในการทดแทนบางอาชีพ แต่ยังคงต้องมี ‘คน’ เป็นผู้ทำงานหลัก ร่วมกับ AI เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา”
ศ.ดร.วิเลิศ ยังได้เปิดเผยถึงบทบาทในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยมองว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ได้แข่งขันกันเอง แต่เป็นการสร้างคุณภาพของการศึกษาในระดับประเทศในองค์รวม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นเพียงเกณฑ์จากองค์กรจัดอันดับต่าง ๆ สำหรับยุทธศาสตร์ของ ทปอ. มุ่งผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างการศึกษาในประเทศไทยให้แข็งแกร่งและดึงดูดนิสิตต่างชาติให้เข้ามาศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศในภาพรวม
ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ จะร่วมมือกับองค์กรระดับโลก รวมถึงจะทำวิจัยเพื่อรายงานว่าอนาคตในทิศทางการศึกษา และทิศทางโลกจะไปในรูปแบบใด เพื่อเสริมทักษะการวิเคราะห์ของประชาชนให้มากขึ้น “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้จุฬาฯ เป็นแหล่งความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ตอบโจทย์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก โดยมุ่งเน้นนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมสนับสนุนการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคตที่มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถปรับตัวได้ในทุกการเปลี่ยนแปลง
ภายหลังการนำเสนอวิสัยทัศน์ อธิการบดีและผู้บริหารจุฬาฯ ได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับนโยบาย และผลงานความก้าวหน้าของจุฬาฯ ในด้านต่าง ๆ โดยสื่อมวลชนได้สัมภาษณ์อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องต่าง ๆ ด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งงาน “จุฬาฯ ชวนสื่อฯ จิบน้ำชายามบ่าย” สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจุฬาฯ ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจุฬาฯ และสื่อมวลชน เพื่อร่วมมือเผยแพร่ข่าวผลงานความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของจุฬาฯ สู่สาธารณชนต่อไป
จุฬาฯ ต้อนรับคณะผู้บริหารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมการศึกษา
“CU Blood : Dare to Give กล้าที่จะให้” จุฬาฯ ชวนบริจาคโลหิต ปลุกพลังแห่งการให้ ต่อชีวิตคนไทย
22 พ.ย. 67
ลาน Block I สยามสแควร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนา “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด”
29 พ.ย. 67 เวลา 09.00 น.
ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2567
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย “Life & Line เส้นสายลายอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่น” และการแสดงเปียโนคอนแชร์โตเพลงไทย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้