ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตแพทย์ วิศวฯ จุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้าเหรียญเงินจากเวทีนวัตกรรมทางชีววิทยาสังเคราะห์ระดับโลก IGEM 2024 Grand Jamboree ที่ฝรั่งเศส

นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้าเหรียญเงินจากเวที IGEM 2024  Grand Jamboree  – The World  Expo of Synthetic  Biology ซึ่งเป็นงานนวัตกรรมทางชีววิทยาสังเคราะห์  (synthesis biology) ที่ใหญ่ที่สุด มีจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 9,507 คน จาก 410 ทีม ใน 48 ประเทศ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2567 ณ Paris Expo Porte de Versailles กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยทีมจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งแรกในหมวด Software and AI

นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่คว้าเหรียญเงินจากงาน IGEM 2024  Grand Jamboree – The World  Expo of Synthetic  Biology  ประกอบด้วย 

– นายอติกันต์ หวลเจริญทนต์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

– นายวิภู เศรษฐวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

– นายณัฐชนน รอดอาวุธ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

– นางสาวอิสสริยา อิสริยะวาณิช นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

– นายพิตรพิบูล ลักษณ์ศิริ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

– นายธีรภาส อภินันท์กูล นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

– นายธีร์จุฑา ศรีวรานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

– นายศุภชาต ศรีหะรัญ  นักเรียนโรงเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ 

ร่วมด้วยนายกิตติพศ แสงสาย Product Manager ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ด้านจิตเวช (AIMET) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมในทีม

โดยมี รศ.ดร.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์
รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมแนวบูรณาการและเทคโนโลยีดิจิทัล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เป็นหัวหน้าทีม และอาจารย์ที่ปรึกษา

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า