รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Social Innovation Hub) ภายใต้การกำกับดูแลของ รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท Tact Social Consulting จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานโมเดลนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มนิสิตและพิธีปิดกิจกรรม “YOUNG SUSTAINABILITY PRACTITIONER” รุ่นที่ 4 พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่นิสิตที่ผ่านการอบรม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมจุมภฎ พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “หลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม จาก Chula-SI HUB ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว ซึ่งมีนิสิตจากหลากหลายคณะและชั้นปีให้ความสนใจเสมอมา เราจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนิสิตในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Carbon Footprint การให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต รวมถึงกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่านิสิตของเรา จะนำทักษะที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาประเด็นสังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นบุคลากรที่เป็นมีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของสังคม”
ทั้งนี้ รศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองอธิการบดี ด้านกิจการนิสิต รศ.ดร.ปกรณ์ วรานุศุภากุล ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านกิจการนิสิต และ ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
ดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Social Innovation Ecosystem in Thailand” เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่ได้ทำความเข้าใจการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมในการแข่งขันจริงและการมองหาโอกาสทางความร่วมมือหรือการหาทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดโครงการต้นแบบให้เป็นกิจการจริงในอนาคต โดยมีโครงการที่ผ่านการอบรมและทดลองสร้างต้นแบบนวัตกรรมนำเสนอผลงาน เพื่อรับข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 โครงการ ได้แก่ ThaiShare (Marketplace) ตัวกลางในการจับคู่ผู้ให้ยืมและผู้เช่าสำหรับผู้ประกอบการ Read Spot: Application หาสถานที่อ่านหนังสือรอบจุฬาฯ Platform ช่วยผู้ประกอบการในการออก E-receipt, Platform สร้าง Awareness ในการเลือกซื้อสินค้าคาร์บอนต่ำ, Headphone ตรวจวัดระดับความเครียดจากคลื่นสมอง, ผู้ช่วยในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์กลางรับซื้อผลผลิตและซากทางการเกษตรลดการเผาของเกษตรกร และ Greenify: แอปการเรียนรู้แยกขยะด้วย AI
หลักสูตรอบรมบ่มเพาะการประกอบการสังคม “Young Sustainability Practitioner” รุ่นที่ 4 เริ่มอบรมในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2567 โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงทั้งในด้านวิชาการและนวัตกรรม ผ่านหัวข้อการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ได้แก่ “Social Innovation with ESG” ปูพื้นฐานความเข้าใจด้านความยั่งยืนและการมองหาโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม “Design Thinking for Social Innovation” เรียนรู้ทฤษฎีและเข้าใจการออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมกับประเด็นปัญหาใกล้ตัว “Circular Economy in Business Practice” เข้าใจความหมายและความสำคัญของ ‘EPR’ ในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง “Climate Change and Carbon Assessment” รับทราบต้นต่อ สาเหตุ ประเด็นปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก และเข้าใจพื้นฐานในการประเมินคาร์บอนสำหรับองค์กร (CFO) “The Crisis of Biodiversity Loss” เรียนรู้ปัญหาการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพจากกรณีศึกษา และ “Mental Health and Thai’s Economy issue” การเรียนรู้ปัญหาสุขภาพจิตไทยจากปัญหาเศรษฐกิจไทยและการรับมือต่อสถานการณ์
ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Social Innovation Hub) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักบริหารวิจัย จัดโครงการอบรมบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมความสามารถและทักษะการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรทางสังคม ที่สามารถตอบโจทย์สังคมได้อย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) ปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการพัฒนาต้นแบบเพื่อการทดลอง (Prototyping) การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจเพื่อสังคมและแผนธุรกิจเพื่อสังคม และการนำเสนอแผนดังกล่าวสู่กลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความสนใจ โดยมุ่งหวังว่าการบ่มเพาะเหล่านี้จะนำไปสู่การตอบโจทย์สังคม ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยมีนิสิตที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการอบรมตามเกณฑ์จำนวน 202 คน จากทั้งหมด 4 รุ่น
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีต้าร์กีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
นิสิตศศินทร์ ผู้ประกอบการ Gen ใหม่ สร้างงานท้องถิ่นด้วยแนวคิดความยั่งยืน
ผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เข้าพบเลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอธิการบดี ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ
เรียนรู้เสริมทักษะกับ CUVIP เดือนพฤศจิกายน “Building Wealth, Building Life บริหารเงิน บริหารธุรกิจให้ชีวิตรุ่งเรือง”
4-22 พ.ย. 67
นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขัน KINTO Hackathon 2024 : Visionaries Beyond
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้