ข่าวสารจุฬาฯ

“หุ่นฝึกการเจาะเลือดและฉีดยาสุนัขที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบโต้ตอบได้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ผลงานคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองและประกาศนียบัตรจากงาน iENA 2024 ที่เยอรมนี

นวัตกรรม “หุ่นฝึกการเจาะเลือดและฉีดยาสุนัขที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบโต้ตอบได้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” (Model of canine venipuncture and injecting made from waste material in an interactive form for self-learning” ผลงานของ ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ นายภักดี สุดถนอม นางจันทิมา อินทรปัญญา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนายกฤตยชญ์ เชื้อศิริ นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold medal) และประกาศนียบัตร (certificate) จากสาธารณรัฐจีน ( ไต้หวัน) และสาธารณรัฐโครเอเชีย จากเวทีนวัตกรรมระดับนานาชาติ  “International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products (iENA 2024)” ระหว่างวันที่ 24 – 31 ตุลาคม 2567 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี 

นวัตกรรมดังกล่าวเป็น 1 ใน 18 ผลงานนวัตกรรมจากประเทศไทยและเป็นทีมเดียวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานในเวทีนวัตกรรมดังกล่าว ในประเภท Teaching and Research, Pedagogical items

หุ่นฝึกการเจาะเลือดและฉีดยาสุนัขที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบโต้ตอบได้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ช่วยเพิ่มความเข้าใจตำแหน่งการเจาะเลือดและฉีดยา และเป็นแนวทางการสอนที่นำไปใช้ในทางคลินิก ช่วยเสริมความมั่นใจและความชำนาญในการปฏิบัติ ลดการบาดเจ็บและความเครียดของสุนัข รวมถึงลดต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับหุ่นนำเข้าจากต่างประเทศ

             

หุ่นจำลองนี้ได้รับการออกแบบให้คล้ายสุนัขจริง อยู่ในท่ายืนสี่เท้า โดยมีการแสดงลักษณะกายวิภาคภายนอกและภายในเพื่อการเรียนรู้ทางสัตวแพทย์อย่างชัดเจน หุ่นประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 4 ส่วน ได้แก่ หุ่นจำลองพร้อมระบบการจำลองการไหลของเลือดเทียม กล่องจับสัญญาณ กล่องฟังเสียงบรรยาย และอุปกรณ์เจาะเลือดฉีดยา ตัวหุ่นมีการฝังท่อซิลิโคนแทนหลอดเลือดต่าง ๆ และใช้เซ็นเซอร์ที่ผลิตจากกระป๋องน้ำอัดลมในการจับสัญญาณ หุ่นจำลองถอดแยกประกอบลำตัวและขาหน้าและขาหลังได้ ผิวหนังถูกหุ้มด้วยผ้าชนิดพิเศษที่คล้ายขนสุนัขจริง ติดซิป และตีนตุ๊กแกไว้ทำให้สามารถถอดประกอบได้เพื่อศึกษาโครงสร้างกายวิภาคภายในได้ การฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากฉีดผิดพลาดหลอดไฟสีแอลอีดีที่กล่องจับสัญญาณเปลี่ยนสี และมีเสียงเห่า

ขั้นตอนและกระบวนการผลิต มีการปั้นต้นแบบจากตัวอย่างสุนัขจริงที่ถูกเตรียมด้วยฟอร์มาลีน ร่วมกับการใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ฝาขวดพลาสติก โฟม และซิลิโคนชนิดพิเศษ เพื่อสร้างหุ่นจำลอง เป้าหมายในการจัดทำหุ่นจำลองจะถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และวางแผนผลิตเพื่อจำหน่ายในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีแผนการใช้งานในห้องฝึกปฏิบัติการทักษะสัตวแพทย์ คลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ หุ่นจำลองนี้เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและลดการใช้สัตว์ทดลอง สามารถซ่อมแซมและใช้งานซ้ำได้หลายครั้ง ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดขยะอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า