ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดการบรรยายเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการขอรับการสนับสนุน การทำงานวิจัยและนวัตกรรมจาก Horizon Europe สหภาพยุโรป

          สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับ Horizon Europe จัดการบรรยายในหัวข้อ “Essential Guidelines for participating in Collaborative Research Proposals in Horizon Europe” เมื่อวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 – 2 ชั้น 3 หอสมุดกลาง สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขอรับการสนับสนุนการทำงานวิจัยและนวัตกรรมจาก Horizon Europe สหภาพยุโรป โดยมุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลที่จำเป็นและเครื่องมือที่มีประโยชน์ เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัยสามารถเตรียมตัวในการสมัครทุนจาก Horizon Europe นอกจากนี้ โครงการฯ ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การขยายขอบเขตงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติได้มากขึ้น เพิ่มการยอมรับในระดับสากล และปรับมาตรฐานคุณภาพการวิจัยให้เป็นที่ต้องการในสังคมโลกต่อไป

          ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่อาจารย์และนักวิจัยในจุฬาฯ จะได้ขยายขอบเขตทางการวิจัยและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยนำผลที่ได้มาแก้ไขปัญหาทางสังคมในระดับโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข

          “กิจกรรมนี้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขอสนับสนุนการทำงานวิจัยของ Horizon Europe รวมถึงพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนระหว่างประเทศและได้รับการยอมรับในระดับสากลมากขึ้น” ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ กล่าว

          รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล กล่าวว่า “การเตรียมความพร้อมให้กับนักวิจัยมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการวิจัยในระดับมาตรฐานสากลโลก รวมถึงส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายและการทำงานร่วมกับนักวิจัยในระดับนานาชาติ หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก ได้รับแรงบันดาลใจจากการแลกเปลี่ยนความคิด และได้รับการสนับสนุนให้งานวิจัยเกิดความก้าวหน้า ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยไทยและมหาวิทยาลัยในแถบภูมิภาคอาเซียนได้เข้าไปมีบทบาทในสังคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

          Mr.Gabriel Dayre, Attaché, Programme Officer (Cooperation), Delegation of the European Union to Thailand กล่าวถึงเป้าหมายของการจัดงานนี้ว่า เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติที่มุ่งเน้นการแนะนำแนวทางการขอรับการสนับสนุนจาก Horizon Europe โดยพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของสหภาพยุโรปและประเทศไทย และนำไปสู่ความร่วมมือในระดับสากล

          “นักวิจัยไทยมีความสามารถในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจชีวภาพ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผมรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ให้ความสนใจและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้” Mr.Gabriel Dayre กล่าว

ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ


จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า