ข่าวสารจุฬาฯ

กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2567 ที่สยามสแควร์วัน อธิการบดีจุฬาฯ ร่วมเดินรณรงค์และแสดงเจตนารมณ์ยุติความรุนแรง

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. ณ ลาน Block I Event Space และลานอัฒจันทร์ ชั้น LG สยามแสควร์วัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “สร้างสุขปลอดภัย ไร้ความรุนแรง” (ACT NOW to end Violence against Women and Girls) และเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงบน Walking Street สยามแสควร์ ร่วมกับคณะผู้บริหาร พม. ในการนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้ร่วมเดินรณรงค์ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการยุติความรุนแรงในสังคมและในครอบครัว

กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2567 ประกอบด้วย การเดินขบวนรณรงค์ยุติความรุนแรง รับชมสารจากนายกรัฐมนตรี นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว ชมวีดิทัศน์เปิดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2567 การแสดง Flash mob “คำดีๆ มีให้กัน” จากวงดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติและประกาศนียบัตรสำหรับบุคลากร/หน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว รวมกว่า 30 รางวัล เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจในการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม และการแสดงเจตนารมณ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรีและบุคคลในครอบครัว โดยผู้บริหารภาคีเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ในโครงการนี้ด้วย โดยเน้นถึงบทบาทของสถาบันการศึกษาในการเสริมสร้างความรู้และค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่นักเรียนและนักศึกษา ตอกย้ำถึงพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเป็นธรรม

ในช่วงท้ายเป็นการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินวง Getsunova กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก

ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยังคงรุนแรงและซับซ้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ ข้อมูลจากศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) พบว่ามีผู้ร้องเรียนกรณีความรุนแรงในครอบครัวกว่า 1,427 รายในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน 2567 เป็นความรุนแรงในครอบครัว 1,026 กรณี ทั้งนี้ “ครอบครัว” ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมไทยกำลังสั่นคลอน เด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศกำลังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ส่งผลให้บั่นทอนการพัฒนาศักยภาพเชิงความคิด สติปัญญา และความสามารถทางกายภาพ รวมทั้งประเด็นปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว สถานศึกษา สถานที่ทำงาน หรือแม้แต่ในวงการกีฬา การป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ จำเป็นต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และส่งเสริมความเสมอภาคในสังคม เพื่อคุ้มครองคนทุกเพศ ทุกวัยอย่างเท่าเทียม ผ่านการดำเนินการผลักดันนโยบายและมาตรการของกระทรวง พม.

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ไม่ยอมรับความรุนแรง ผ่านการร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการสร้างสังคมที่ปลอดภัย ไร้ความรุนแรง “ACT NOW” เริ่มได้ทันที เริ่มที่ตัวเรา โดยการ “ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” ทุกรูปแบบ โดยสามารถแจ้งเหตุผ่านสายด่วน พม. โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอปพลิเคชันไลน์ @esshelpme ทั้งนี้ กระทรวง พม. พร้อมจะดำเนินกิจกรรมรณรงค์เชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศตลอดเดือนพฤศจิกายนนี้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า