รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน นิพัฒน์ ตันติศิลปานนท์
“Net Zero” หรือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ คำนี้มีความเกี่ยวข้องกับ “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” หรือ “Climate change” อย่างแยกกันไม่ออก นิพัฒน์ ตันติศิลปานนท์ Consultant Sasin Management Consulting สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับ Climate Change และ Net Zero เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทและความจำเป็นของการเปลี่ยนถ่ายพลังงาน (Energy Transition) เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย Net Zero 2050
Climate Change และ Net Zero
สืบเนื่องปัญหาโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น น้ำแข็งที่ขั้วโลกที่ละลายเร็วขึ้นส่งผลให้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ในพื้นที่ที่ฝนตกก็จะตกมากขึ้น ในพื้นที่ที่แห้งแล้งก็จะแห้งแล้งมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเพาะปลูกพืชเพื่อการเกษตรของโลกเป็นอย่างมาก ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบในระดับโลก นานาประเทศจึงได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขผ่านการจัดตั้ง 3 กลไกสำคัญภายใต้กรอบสหประชาชาติ ดังนี้
ในปี 2565 (ค.ศ. 2022) ทั้งโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.5 GtCO2 และหากนับรวมก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจะเป็น 53.8 GtCO2e ซึ่งก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลัก ๆ ดังนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide – CO2) ก๊าซมีเทน (Methane – CH4) และไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide – N2O)
แนวโน้มเรื่องการเปลี่ยนถ่ายด้านพลังงาน (Energy transition trends)
การไปให้ถึง Net Zero 2050 นั้น การใช้พลังงานของโลกจะต้องลดการใช้พลังงานฟอสซิล (Fossil energy) ลง และเปลี่ยนถ่ายไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewables energy) รวมถึงพลังงานไฟฟ้า (Electrification) ในหลากหลายภาคส่วน การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้า เพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายดังกล่าวด้วย ซึ่งนิพัฒน์ได้สรุปแนวโน้มเรื่องการเปลี่ยนถ่ายด้านพลังงานออกมาเป็นแนวโน้ม 6 ประการสำคัญ โดยกล่าวถึงแนวโน้มดังกล่าวในบทความนี้ 3 ประการ และในบทความหน้าอีก 3 ประการ
การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งที่มาหลักของไฟฟ้าในโลกกว่า 61%[1] ในปี 2566 ที่ผ่านมา พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม (Solar and wind energy) เป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด ข้อดีของพลังงานหมุนเวียน คือเป็นพลังงานสะอาด ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการใช้งานหรือผลิตไฟฟ้า
ปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า LCOE (Levelized Cost of Electricity[2]) ลดลงมาสูสีกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม มีการคาดการณ์ว่าพลังงานจากลมและแสงอาทิตย์จะก้าวขึ้นมาเป็นพลังงานหลักในส่วนผสมของพลังงานขั้นต้น (Primary energy mix) ในอัตราส่วน 25% และ 14% ตามลำดับในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ที่จะถึงนี้ โดยพลังงานที่เหลือจะมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล 30% นิวเคลียร์ 14% และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ[3] อีก 17%
ทั้งนี้ ถึงแม้พลังงานหมุนเวียนจะมีการเติบโตที่รวดเร็ว แต่การเติบโตและพัฒนานี้ก็ยังกระจุกตัวในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึงมีทรัพยากรและความสามารถทางการเงินเพียงพอเท่านั้น (ยกเว้นประเทศจีน ซึ่งถึงแม้จะเป็นประเทศกำลังพัฒนาแต่ก็มีกำลังการติดตั้งพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก) พลังงานจากฟอสซิลอย่างน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติก็ยังจะคงมีการใช้งานอยู่ต่อไปในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพลังงานจากแหล่งดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ทางด้านพลังงานที่สำคัญ คือ “การเข้าถึงได้” (Affordable) และ “ความมั่นคง” (Reliable) สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหรือ “ความยั่งยืน” (Sustainable) นั้นมี “ราคา” หรือ “Premium” ที่ต้องจ่าย ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ใช้พลังงานหมุนเวียน และให้ความสำคัญกับพลังงานที่มีราคาถูกและมีความมั่นคงอย่างพลังงานฟอสซิลมากกว่า ที่ถึงแม้ LCOE ของพลังงานงานหมุนเวียนจะลดลงมาค่อนข้างสูสีกันแล้วก็ตาม แต่ก็ยังติดปัจจัยในด้านความมั่นคงอยู่ เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะที่ “ไม่คงที่ / ไม่แน่นอน” (Intermittent) กล่าวคือ พลังงานหมุนเวียนจะผลิตไฟฟ้าได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น โซลาร์เซลล์ (Solar cell) จะผลิตไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงแดด พลังงานลม (Wind energy) ก็จะผลิตไฟฟ้าได้เมื่อมีลมที่ความเร็วตามที่กำหนด เป็นต้น
2. การใช้ไฮโดรเจนในฐานะพลังงานสะอาด (Hydrogen as a clean energy carrier)
“ไฮโดรเจน” (Hydrogen) ถูกนับเป็นพลังงานสะอาด เนื่องจากเมื่อเผาไหม้แล้วจะได้ “ไอน้ำ” ทำให้เป็นแหล่งพลังงานที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีพลังงานมากกว่าน้ำมันเกือบ 3 เท่า[4] (ไฮโดรเจน 120 MJ/kg และน้ำมัน 44 MJ/kg)
ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีอยู่มาก และสามารถผลิตได้จากหลายแหล่ง โดยไฮโดรเจนจะแบ่ง “สี” ตามแหล่งที่มา สำหรับไฮโดรเจนที่ถูกกล่าวถึงมากในปัจจุบันจะเป็นไฮโดรเจน 3 สี ดังนี้
ไฮโดรเจนสีเขียวนั้นถูกพูดถึงในฐานะพลังงานสะอาดที่สำคัญในการลดคาร์บอน (Decarbonization) ในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (Hard-to-abate sector) อย่างอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก การผลิตแอมโมเนีย และภาคการขนส่ง
3.การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคขนส่ง (Electronification of transportation)
ในปี 2566 (ค.ศ. 2023) ภาคการขนส่งมีการประมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 8.0 GtCO2 หรือคิดเป็นประมาณ 21% ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด ซึ่งกว่า 76% ของปริมาณการปล่อยทั้งหมดมาจากการขนส่งทางรถ (Road transport) เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องยนต์สันดาป (Internal Combustion Engine) ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนหลักของยานพาหนะในปัจจุบัน
วิธีการที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ของภาคขนส่งอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เราจำเป็นต้องผลักดันให้มีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว หรือ Electrification ผ่านการใช้ไฟฟ้าที่มีแหล่งที่มาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) หรือรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle หรือ FCEV) เป็นต้น โดยในปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มได้รับการยอมรับในวงกว้างในหลายประเทศ เช่น ประเทศนอร์เวย์ ประเทศจีน กลุ่มประเทศยุโรป เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะต้องมีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีชาร์จไฟฟ้าที่มากพอ และด้านคุณสมบัติของตัวรถยนต์ไฟฟ้าเอง โดยเฉพาะด้านระยะทางที่วิ่งได้ ระยะเวลาการชาร์จไฟ และราคาของตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ในเรื่องความหนาแน่น (Density) ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระยะทางที่วิ่งได้ และความเร็วในการการชาร์จไฟฟ้
แนวโน้มเรื่องการเปลี่ยนถ่ายด้านพลังงานทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา ส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง ครอบคลุม 3 ภาคส่วนหลัก (ภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการขนส่ง) ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันกว่า 35 GtCO2 หรือคิดเป็นกว่า 91% ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก ในปี 2565 (ค.ศ. 2022) โดยในบทความต่อไป ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงแนวโน้มเรื่องการเปลี่ยนถ่ายด้านพลังงานอีก 3 ประการสำคัญที่จะช่วยผลักดันไปสู่ Net Zero 2050 และตอบคำถามว่าโลกจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero 2050 ได้หรือไม่
[1] ข้อมูลจาก Energy Institute – Statistical Review of World Energy
[2] ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าตลาดอายุของโรงไฟฟ้าหารด้วยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้
[3] รวมพลังงานชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น
[4] ข้อมูลจาก US Department of Energy
[5] ข้อมูลจาก BloombergNEF ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยใน ปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)
[6] ข้อมูลจาก World Economic Forum
[7] ข้อมูลจาก EnergyNews.biz
[8] ข้อมูลจาก McKinsey & Company ตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกระบวนการผลิตแอมโมเนียสีเทาอยู่ที่ 1.9-2.6 tCO2 ต่อแอมโมเนีย 1 ตัน
[9] ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) เท่ากับ 38.1 GtCO2
กระทรวง อว. – จุฬาฯ จัด “Loy Krathong: Illumination the Future” เนรมิต Siam Square เป็น LED River ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง
15-16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 17.00 - 20.00 น. สยามสแควร์
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 9 “Spatial Prescription” สำรวจบทบาทสถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาสังคม
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “Trade in Iraq: Challenges and opportunities”
15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมงาน “กายภาพบำบัด” ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ครบครันความรู้เพื่อสุขภาพคนไทยทุกช่วงวัย
กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2567 ที่สยามสแควร์วัน อธิการบดีจุฬาฯ ร่วมเดินรณรงค์และแสดงเจตนารมณ์ยุติความรุนแรง
นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัลดีเด่น โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2567 (Young Thai Artist Award 2024)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้