ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดสัมมนา “แนวทางพัฒนาและการประเมินผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสและอาหารสำหรับผู้สูงวัย”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารวิจัย ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) และแพลตฟอร์มอาหารและการเกษตรเพื่ออนาคต (Chula Future Food Platform) ขอเชิญนักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจร่วมงานสัมมนา “แนวทางพัฒนาและการประเมินผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสและอาหารสำหรับผู้สูงวัย (Development and Evaluation Frameworks for Texture-Modified Foods and Elderly Food Products)” ในวันที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมบานเย็น ห้อง 1508 ชั้น 15 อาคารมหาวชิรุณหิศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก International Dysphagia Diet Standardisation Initiative (IDDSI) หรือหน่วยงานที่ริเริ่มมาตรฐานอาหารสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบากระดับสากล ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เอ็มเทค สวทช. (National Metal and Materials Technology, MTEC, a member of NSTDA) ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะมาไขความลับเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัส พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะปฏิวัติวงการอาหาร

หัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจ ดังนี้

  • “The Growing Demand and Impact of Texture-Modified Diets in Thailand” โดย อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Leader of IDDSI IRG Thailand
  • “Oral Processing and Its Connection to Diet Recommendations” โดย Mr. Peter Lam, Chairperson & Chief Executive Officer of IDDSI
  • “From Textural and Rheological Assessments to Clinical Applications in Texture-modified Food” โดย ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC, NSTDA
  • “Food Technology and Innovation in Texture Modification: From Research Labs to Market Applications” โดย รศ.ดร. ธัยญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบนิเวศนวัตกรรมและผู้ประกอบการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนา “ทิศทางการพัฒนาและการประเมินผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสและอาหารสำหรับผู้สูงวัยของประเทศไทย” ร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญและแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาอาหารสำหรับผู้สูงวัยในประเทศไทย ผู้เสวนาประกอบด้วย

  • ผศ.พญ.พิม ตีระจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภญ.สุภาวดี ธีระวัฒน์สกุล ผู้อำนวยการกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • รศ.ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC, NSTDA

ดำเนินรายการโดย อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/AtrBqJePPx8meZ9Z8   (ที่นั่งจำนวนจำกัด)

ปิดรับลงทะเบียนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567

ยืนยันการลงทะเบียนภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณวรกมล โทรศัพท์: 09-6224-9417

E-mail: chulafuturefood@gmail.com

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า