รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และMarmara University, Turkey จัดการแสดงคอนเสิร์ตมิตรภาพไทย-ตุรกี (Thailand-Türkiye Friendship Concert) “ท่วงทำนองก่อนเก่าและอนาคตอันกลมเกลียว: การสำรวจทำนองพื้นบ้านในดนตรีคลาสสิก” (Bygone Melodies for a Harmonious Future: an exploration of folk melodies in classical music) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในงาน H.E. Mrs.Serap Ersoy เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย พร้อมคณะเข้าร่วมชมคอนเสิร์ตในครั้งนี้
การแสดงในครั้งนี้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิมอย่างบาลามะ (Bağlama) และอึฆ-ลือญ์ (Iklığ) โดยนักดนตรีจากประเทศตุรกี ร่วมกับวงจุฬาฯ เชมเบอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเสริมความสัมพันธ์โดยใช้กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อสัมพันธ์ รวมทั้งเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 มีการจัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ดนตรีพื้นเมืองตุรกี: เครื่องดนตรี สุนทรียะ และบริบททางสังคมวัฒนธรรม และอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ พิณตุรกีเบื้องต้น (Special Lecture on Turkish Traditional Music and Introductory Workshop on Turkish Bağlama) โดยวิทยากร 3 ท่านจาก Marmara University, Istanbul, Türkiye ได้แก่ Prof. Dr. Sibel Coban, Asst. Prof. Dr. Mehmet Ali Ozdemir, Prof. Dr. Erhan Dogan
กิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุทธศาสตร์พื้นที่สร้างสรรค์สู่การเรียนรู้ภายใต้การกำกับของ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดี ในกรอบแนวคิดของการสนับสนุนให้นิสิตมีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพในวิชาชีพ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่นิสิตในระดับนานาชาติ
อธิการบดีจุฬาฯ พบรัฐมนตรีศึกษาฯ กัมพูชา ศิษย์เก่าครุศาสตร์ กระชับความสัมพันธ์และบูรณาการความรู้เพื่อเยาวชนในภูมิภาค
นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษา AEON 1% Club Japanese Speech Contest 2024
Chula SIFE เปิดรับสมัคร SIFE Social Enterprise Case Competition 2025
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดการบรรยายพิเศษ Lecture Series ครั้งที่ 4-5 หัวข้อ “Architecture & Design for Society”
“ย่านบรรทัดทอง สวนหลวง สามย่าน” คว้ารางวัล WOW AWARDS 2025 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดการบรรยายพิเศษ Lecture Series ครั้งที่ 2-3 หัวข้อ “Architecture & Design for Society”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้