ข่าวสารจุฬาฯ

พิธีเปิดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและสุขภาพสตรี

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ร่วมกับสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาฯ จัดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาคมจุฬาฯ โดยมีพิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ ผู้ช่วยอธิการบดีและผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน

ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม
รองอธิการบดีจุฬาฯ
รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ
ผู้ช่วยอธิการบดีและผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ

ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อ “มะเร็งเต้านม: รู้เร็ว รู้ทัน รักษาหาย” โดย อ.นพ.สิกฤษฏ์ เด่นอริยะกูล ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์-ศัลยศาสตร์เต้านม สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นพ.อมรพันธ์ เสรีมาศพันธุ์ ในช่วงบ่ายมีการอบรมเชิงปฏิบัติการคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งเต้านม และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม

อ.นพ.สิกฤษฏ์ เด่นอริยะกูล ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์-ศัลยศาสตร์เต้านม
สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธ์ เสรีมาศพันธุ์

ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า งานสัปดาห์สุขภาพสตรี CU Women’s Health Week ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่สะท้อนถึงความใส่ใจในสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคลากร โดยเฉพาะสุภาพสตรีในทุกช่วงวัย จุฬาฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะในทุกมิติ งานสัปดาห์สุขภาพสตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของจุฬาฯ ในการสร้างชุมชนที่แข็งแรง และสร้างความตระหนักถึงสุขภาพสตรี ทั้งด้านการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ

รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เผยว่าปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสตรีอายุ 30 – 70 ปี ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ด้วยอัตราการเกิด 31.4 ต่อประชากรแสนคน และมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมวันละ 11 คน โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ สตรีส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลำพบก้อนที่เต้านมหรือมีอาการเจ็บเต้านม การป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาความผิดปกติให้เร็วที่สุด ซึ่งอัตราการรอดชีวิตในระยะแรกสูงถึง 95% ผู้ที่ตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ตรวจ โครงการนี้จึงมีส่วนช่วยให้ประชาคมจุฬาฯ มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมอย่างรอบด้าน และสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่แนวทางในการส่งเสริมและป้องกันโรคต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า