ข่าวสารจุฬาฯ

CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า

           นวัตกรรม “การตรวจสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งบอกความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้” ผลงานวิจัยของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับความสนใจจากสถานีโทรทัศน์ CNN มาสัมภาษณ์อาจารย์ผู้วิจัยเพื่อเผยแพร่ข่าวไปทั่วโลกในรายการ Vital Signs with Dr.Sanjay Gupta  

              เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ที่ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาฯ ชั้น 6 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ CNN ได้มาสัมภาษณ์ อ.พญ.ภัทราวลัย สิรินารา ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และถ่ายทำกระบวนการทำงานของเครื่อง Gas Chromotrography-Ion Mobility Spectrometry (GC-IMS) ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารเคมีในกลิ่นเหงื่อ สามารถวินิจฉัยผู้ที่มีอาการเครียดและภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมี ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลการทำงานของเครื่อง GC-IMS ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด และได้รับทุนวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

             

           ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ CNN ได้รายงานข่าวคณะผู้วิจัยจุฬาฯ นำโดย ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.ณัฐนี ตั้งกิจอนันต์สิน ผู้ทำวิจัย ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเครียดโดยใช้สารเคมีในกลิ่นเหงื่อในกลุ่มนางพยาบาลโรงพยาบาลบุรีรัมย์จำนวน 35 คน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในสกู๊ปข่าวเรื่องนี้ด้วย

             

           ทีมนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการศึกษวิจัยพบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งบอกภาวะความเครียดสูงและซึมเศร้าได้ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่พัฒนาต่อยอดจากการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นสารเคมีในเหงื่อในช่วงการระบาดโรคโควิด-19 งานวิจัยนี้นำร่องศึกษาวิจัยในกลุ่มนักผจญเพลิงในกรุงเทพฯ ได้ผลทดสอบที่มีความแม่นยำถึง 90% คณะผู้วิจัยได้เดินหน้าตรวจคัดกรองในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องความเครียดจากการทำงาน เริ่มจากกลุ่มวิชาชีพพยาบาล โดยในอนาคตอันใกล้จะมีการนำเครื่อง GC-IMS ไปใช้จริงในการให้บริการตรวจวิเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไป

          อ่านข้อมูลงานวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/120183/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า