รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันภาษา ร่วมกับบริติช เคานซิล ประเทศไทย จัดการประชุมนานาชาติ “2024 New Directions East Asia” เมื่อวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัช อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดการประชุม
การประชุมนานาชาติ “2024 New Directions East Asia” จัดขึ้นเพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะผู้นำด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะภาษาในระดับภูมิภาค โดยมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น หลักเกณฑ์การประเมินความสามารถของผู้เรียนภาษา การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในกระบวนการประเมินทักษะภาษา รวมถึงการกำหนดนโยบายในระดับชาติและภูมิภาคเพื่อยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 450 คนจากหลากหลายประเทศ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักวิชาการ และอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำด้านวิชาการและนวัตกรรมภาษา ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ในระดับสถาบัน แต่ยังช่วยผลักดันการพัฒนาการศึกษาของประเทศให้ก้าวไกลในระดับนานาชาติ นับเป็นโอกาสสำคัญที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แสดงศักยภาพในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการด้านภาษาและการประเมินผลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเชิงนโยบายและการวิจัยเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในระดับโลก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้าง Generative AI เพื่อใช้ในวงการการศึกษาไทย ด้วยการเปิดตัว ‘ChulaGENIE’ ร่วมกับ Google Cloud
นายกสภาจุฬาฯ ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นในงาน CEO Forum “Global Economic and Geopolitical Outlook 2025”
จุฬาฯ ร่วมงาน “One Stop Open House 2024” มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่จัดโดยกระทรวง อว. สร้างแรงบันดาลใจและเปิดโอกาสทางการศึกษา
จุฬาฯ ได้รับรางวัล HR Innovation Award ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้รางวัล HR Innovation Award ระดับองค์กร
ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯ จัดโครงการอบรม “Chula Risk Leader Bootcamp: Mastering Strategic Risk Management in Higher Education” รุ่นที่ 1
คณบดีคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมงานวิจัยในเทศกาล Yi Peng 2024 : the Lanna Light Festival
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้