ข่าวสารจุฬาฯ

Chula Digital War Room เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ศูนย์กลางให้ข้อมูลเตือนภัยและสนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสริมศักยภาพการจัดการภัยพิบัติด้วย Chula Digital War Room ภายใต้เครือข่าย Chula Disaster Solution Network (Chula DSN) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลและการประสานงานที่สำคัญสำหรับการรับมือกับภัยพิบัติ ตั้งแต่การเตือนภัยล่วงหน้า การคาดการณ์สถานการณ์ การวางแผนการอพยพ ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินโดยใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการตั้งศูนย์อพยพ



            ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิด Chula Digital War Room ภายใต้เครือข่าย จุฬาฯ ฝ่าพิบัติ สนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการประสานความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งด้านภูมิสารสนเทศจากจุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญทางน้ำจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.ปัตตานี) กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 4 เจ้าพนักงานปกครองในพื้นที่ หน่วยราชการ และเครือข่ายจิตอาสาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ประสบภัย จุฬาฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นที่พึ่งของสังคมในทุกมิติ ด้วยปณิธานที่ว่า “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” จึงได้จัดตั้ง Chula Digital War Room ภายใต้เครือข่าย Chula DSN เพื่อรองรับการจัดการอุทกภัยต่าง ๆ ในกรณีพื้นที่สามจังหวัดชายแดนที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ Chula Digital War Room ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเตือนภัย คาดการณ์สถานการณ์ และระบุพื้นที่เสี่ยงอย่างแม่นยำ พร้อมประสานงานกับเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ ทำให้การดำเนินงานมีความถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนการขนส่งสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้เมื่อเหตุการณ์จบลงแล้วยังมีการถอดบทเรียนหลังเหตุการณ์เพื่อพัฒนาความรู้และเสริมสร้างศักยภาพการรับมือภัยพิบัติในอนาคต


            ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมถึงข้อมูลเชิงลึกใน Chula Digital War Room ที่ใช้ในการจัดการภัยพิบัติว่า “เรามีชุดข้อมูลที่ครอบคลุมที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาของผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การระบุพื้นที่เสี่ยง ไปจนถึงการประเมินภาพรวมของภัยพิบัติว่ามีโอกาสจะส่งผลกระทบถึงพื้นที่หรือไม่ ข้อมูลดังกล่าวยังช่วยระบุจุดเสี่ยงที่น้ำอาจตัดขาดถนน เส้นทางที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพ รวมถึงสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งศูนย์บัญชาการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล หรือวัด ซึ่งสามารถรองรับประชาชนจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย”

            ศ.ดร.สันติ เน้นย้ำถึงความแม่นยำของข้อมูลที่สามารถเจาะจงถึงระดับหลังคาเรือน ทำให้ชุมชนในพื้นที่สามารถเตรียมตัวและรับมือกับสถานการณ์ล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรู้ตัวล่วงหน้าจากข้อมูลที่ชัดเจนเหล่านี้ช่วยให้หลายชุมชนสามารถวางแผนการรับมือและอพยพได้ทันเวลา ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญ



       

          



            รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ รองอธิการบดีจุฬาฯ เผยว่า ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานหลากหลายภาคส่วน และการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ Chula Digital War Room จึงเป็นต้นแบบที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางความรู้และการแก้ปัญหาเพื่อสังคมไทยอย่างยั่งยืน

            ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยังได้นำข้อมูลและพิกัดที่ได้รับการวิเคราะห์โดยเครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติไปใช้ในการจัดตั้งศูนย์อพยพ เพื่อรองรับประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการนำความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่การช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต

            นอกจากนี้ เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติยังได้ประสานงานกับเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ จัดเตรียมเรือประมงขนาดเล็กเพื่อใช้ในการลำเลียงอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคไปยังจุดอพยพอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดตั้งศูนย์อพยพ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ



            ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการบริจาคสิ่งของจำเป็นเพื่อลำเลียงไปยังศูนย์กระจายสิ่งของโดยกองทัพภาคที่ 4 ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 หรือบริจาคเงินช่วยเหลือได้ที่ https://engagement.chula.ac.th/dwarroom/contributions/


จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า