รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโครงการเลือดชมพู CU Blood ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (PMCU), WARRIX และผู้ประกอบการในสยามแสควร์ จัดกิจกรรมรณรงค์รับบริจาคโลหิต “CU Blood: Dare to Give กล้าที่จะให้” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00-19.00 น. ณ ลาน Block I สยามสแควร์ ทำให้ให้ยอดบริจาคโลหิตสะสมของโครงการในปีนี้เพิ่มเป็น 900 ถุง
ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า “กิจกรรมรณรงค์รับบริจาคโลหิต CU Blood ‘Dare to Give กล้าที่จะให้’ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจุฬาฯ ในการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาสำคัญของสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนโลหิตสำรองอย่างวิกฤติ ผมภูมิใจที่ได้เห็นการขยายผลของโครงการออกสู่ประชาคมจุฬาฯ ในวงกว้างขึ้น ทั้งคณาจารย์ บุคลากร นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า รวมถึงผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สยามสแควร์ ล้วนเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทางการศึกษาและสังคมของเรา การมีส่วนร่วมออกมาแสดงพลังแห่งการให้จากทุกภาคส่วนครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นถึงพลังของการเติบโตของจุฬาฯ รอบทิศ โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง”
คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ ที่ปรึกษาโครงการ CU Blood กล่าวว่า “ตลอด 12 ปี ของ CU Blood เราได้รับบริจาคโลหิตจากประชาคมจุฬาฯ รวมแล้วกว่า 8 ล้านซีซี ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของ CU Blood จนมาถึงในปีนี้ล้วนเป็นผลลัพธ์จากความทุ่มเทเสียสละของทั้งน้องนิสิตจุฬาฯ พี่นิสิตเก่า และผู้สนับสนุนทุกท่าน รวมถึงผู้บริจาคโลหิตทุกคน พลังแห่งการร่วมแรงแข็งขันจึงทำให้ CU Blood ได้รับโลหิตสะสมขณะนี้จำนวน 891 ถุง”
คุณทัตดนัย โชติวิญญู Business Development Manager, WARRIX กล่าวว่า “CU Blood เป็นโครงการที่มีความหมายและสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก เราจึงได้ร่วมกับน้องนิสิตออกแบบเสื้อยืดคอลเลคชั่นพิเศษ ‘WARRIX X CU Blood’ มูลค่าตัวละ 690 บาท โดยมอบให้ผู้บริจาคโลหิต 500 ท่านแรกเพื่อตอบแทนน้ำใจแห่งการให้ นอกจากนี้เรายังนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายเสื้อยืดรุ่นนี้บริจาคให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยอีกด้วย เพราะเราเชื่อว่าทุกการให้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ล้วนมีความหมายและช่วยต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยที่รออย่างมีความหวังอยู่”
นางสาวกานต์ธิดา สุนทรภาคี หรือฝ้าย นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะตัวแทนกลุ่ม CHULA COLORGUARD กล่าวว่า “กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่อย่างพวกเราได้พัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและมองเห็นคุณค่าของการให้ที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในห้วงนาทีชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องการเลือดไปใช้ในการรักษา หากเรามีเลือดในคลังที่เพียงพอก็จะช่วยต่อชีวิตพี่น้องคนไทยให้กลับมาแข็งแรงยืนยาวทำประโยชน์ให้กับประเทศของเราได้ต่อไป”
ทางด้าน ปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ นักแสดงชื่อดัง นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า “ผมเองเป็นแฟนคลับของศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยทุก ๆ 3 เดือนผมจะต้องแบ่งเวลาแวะมาบริจาคโลหิต ทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตจุฬาฯ แล้วครับ เพราะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ผมสามารถทำเพื่อสังคมได้ง่าย ๆ ใช้เวลาไม่มาก แต่สุขใจทุกครั้งที่ได้ทำ ยิ่งช่วงนี้คลังโลหิตสำรองกำลังขาดแคลน จึงขอฝากให้พวกเราที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่ในเกณฑ์ที่บริจาคโลหิตได้ออกมาแสดงพลังแห่งการให้ด้วยกัน ชวนกันมาเยอะ ๆ นะครับ”
บรรยากาศภายในงานดังกล่าวคับคั่งไปด้วยผู้ที่สนใจร่วมบริจาคโลหิตนับร้อยที่มารอลงทะเบียนตั้งแต่ก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีผู้สนับสนุนนำของสมนาคุณมากมายมามอบให้กับผู้บริจาคโลหิต นอกจากนี้ยังมีการแสดงชุดพิเศษจากกลุ่ม CHULA COLORGUARD และมินิคอนเสิร์ตจากวงดนตรีนิสิตจุฬาฯ Gift & Fain อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมบริจาคโลหิตในครั้งต่อไปติดตามข่าวสารได้ที่อินสตาแกรม “cu.blood” และ “chulacolorguard” หรือ โทร. 06-3215-5710
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือทางวิชาการกับ Tallinn University จัดกิจกรรม “Arts Talk”
จุฬาฯ จัดพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาฯ
นิสิตแพทย์จุฬาฯ ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
Chula Digital War Room เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ศูนย์กลางให้ข้อมูลเตือนภัยและสนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตร ZEN หลักสูตรอบรมที่ผสานหลักการปรัชญาแบบญี่ปุ่นกับแนวทางการตลาดสมัยใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้