ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน

จุฬาฯ ถกวิกฤตเบาหวานคุกคามไทย ชูแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ “หวานน้อย” แก้ปัญหาเบาหวานครบวงจร

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 537 ล้านคน และมีแนวโน้มที่น่าวิตกว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคนในปี 2573 และ 783 ล้านคนในปี 2588 สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานแล้วประมาณ 6.5 ล้านคน โดยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือร้อยละ 40 ของผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วย

ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดประชุมวิชาการประจำปี 2024 “เปิดยุทธการดับเบาหวาน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งสร้างความตระหนักและแนวทางจัดการปัญหาโรคเบาหวานอย่างยั่งยืน โดยอัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำสูงที่พัฒนาโดยทีมวิจัยคนไทย เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครบวงจร ท่ามกลางความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตจุฬาฯ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข สื่อมวลชน และผู้สนใจ

ไฮไลต์สำคัญของงานอยู่ที่อัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการเพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วยนวัตกรรมสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันและคัดกรองด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจากลมหายใจแบบไม่รุกล้ำและระบบ AI วิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านการวินิจฉัยผ่านระบบ Telemedicine พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและไมโครไบโอม และด้านการรักษาด้วยนวัตกรรมเฉพาะทางอย่างระบบนำส่งอินซูลิน แผ่นปิดแผล และแผ่นรองเท้าป้องกันแผลกดทับที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มหวานน้อย (Wannoi) ที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวมเพื่อการรักษาแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มุ่งหวังยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของไทยให้ทัดเทียมระดับสากล คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ในปี 2570

นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “การควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ผลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยแบบองค์รวม โดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร เราจึงแนะนำให้ผู้ป่วยเรียนรู้การนับคาร์โบไฮเดรตในอาหารประจำวัน โดยควรจำกัดไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด แม้ในช่วงแรกอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่เราได้พัฒนาเครื่องมือและแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประเมินปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารไทยได้ง่ายขึ้น และจัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่ระบุปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อหน่วยบริโภค และมีภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะดูแลนำมาใช้ผู้ป่วยเบาหวานอยู่เช่นกัน ซึ่งเรายินดีสนับสนุนนวัตกรรมจากนักวิจัยไทยอย่างเต็มที่”

นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค

ทางด้าน รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “สำหรับศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชแห่งนี้เป็นการรวมพลังของคณาจารย์และนักวิจัยจากหลากหลายสาขามาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแพทย์และสาธารณสุข เรากำลังพัฒนาผลงานสำคัญทั้งอวัยวะเทียม ระบบวินิจฉัยโรคด้วย AI และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ควบคู่ไปกับการบ่มเพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้งานจริงและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ผ่านความร่วมมือกับบริษัท Spin-off ของจุฬาฯ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ยั่งยืน”

รองศาสตาจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาส รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เราได้ผสานความเป็นเลิศทั้งด้านการแพทย์ วิศวกรรม และ AI บูรณาการรวมไว้บนแพลตฟอร์มหวานน้อย เพื่อสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ตั้งแต่การป้องกันการวินิจฉัย ไปจนถึงการรักษา โรคเบาหวาน โดยขณะนี้ได้ผ่านเฟสการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลพันธุกรรมและจุลชีพของผู้ป่วยเบาหวานและการรักษาไปแล้ว โดยเฟสต่อไปในปี 2568-2569 เราจะเก็บข้อมูลและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานด้วยนวัตกรรมตรวจวัดจากลมหายใจ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมการรักษาเบาหวาน ได้แก่ แผ่นปิดแผลเบาหวาน ระบบนำส่งอินซูลิน และพื้นรองรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลจำเพาะของผู้ป่วยเบาหวานไทย โดยคาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยในวงกว้างได้ในปี 2570”

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาส รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมี “เสวนาบูรณาการทุกภาคส่วน สู้ศึกเบาหวานคุกคามไทย” โดย น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ น.พ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ และคุณยุพา ศุภฤกษ์กมล ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรักน้อย จ.นนทบุรี ” อีกด้วย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า