รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ จัดโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าและงานเปิดตัวฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทย เพื่อรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ลายอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าไทยในรูปแบบฐานข้อมูล ทั้งลายผ้าขาวม้าท้องถิ่น และลายผ้าขาวม้าสร้างสรรค์ใหม่ โดยเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งส่งเสริมคุณค่าและมูลค่าของผ้าขาวม้าไทยในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่ผลงานนวัตกรรมในหลากหลายมิติ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ผ้าขาวม้าไทยถือเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบทอดมายาวนานและมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่การใช้ในครัวเรือนจนถึงการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ความเรียบง่ายของลวดลายและการผลิตที่ใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ทำให้ผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมาย SDG 11 ที่มุ่งเน้นการปกป้องและรักษามรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวมถึง SDG 12 ที่ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
โครงการฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าเน้นการส่งเสริมการใช้ผ้าขาวม้าในรูปแบบที่ไม่ต้องแปรรูปเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อลดการสูญเสียมูลค่าและประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแนวทาง “3Rs” (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งผลักดันให้ผ้าขาวม้าเป็นที่รู้จักในระดับสากล โดยเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDG 8 ที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและสนับสนุนงานที่มีคุณค่าให้กับชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทยเห็นถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในฐานะสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ไทยและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชุมชน ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับผ้าขาวม้าไทยให้เป็นมรดกภูมิปัญญาที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ทั้งในด้านความงามทางวัฒนธรรม ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และการสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนไทย พร้อมทั้งอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่สังคมไทยต่อไปอย่างยั่งยืน
รศ.ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษาจุฬาฯ กล่าวว่า “ผ้าขาวม้า” หรือที่เรียกว่าผ้าอเนกประสงค์ เป็นผ้าที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าถุง หรือกางเกง ด้วยลักษณะของผ้าขาวม้าที่ผลิตง่าย มีลวดลายเรียบง่าย และเข้าถึงได้ทุกคน จึงสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนทั่วประเทศ โดยการย้อมสีธรรมชาติในท้องถิ่นทำให้ผ้าขาวม้าแต่ละผืนมีความโดดเด่นและไม่ซ้ำกัน
ปัจจุบันการอนุรักษ์ผ้าขาวม้าไม่ได้หยุดแค่การรักษามรดกภูมิปัญญา แต่ยังมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้า ซึ่งระบุรายละเอียดของผู้ผลิตในแต่ละชุมชน ช่วยเชื่อมโยงระหว่างชุมชนผู้ผลิตกับผู้ซื้อโดยตรง ฐานข้อมูลนี้ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชน และได้รับการรับรองโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาใช้ผ้าขาวม้าในรูปแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชนโดยตรง แทนการแปรรูปเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่อาจลดคุณค่าของผ้าลง
“หากเราสนับสนุนการใช้ผ้าขาวม้าทั้งผืน จะช่วยให้ชุมชนขายผ้าได้มากขึ้น และส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่รักษาเอกลักษณ์ของผ้าไทยอย่างแท้จริง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการนี้ ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ยังสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับคนไทยเกี่ยวกับการใช้ผ้าขาวม้าให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเป้าหมายที่จะผลักดันให้ผ้าขาวม้ากลายเป็นสินค้าระดับโลกที่สะท้อนความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” รศ.ฤทธิรงค์กล่าว
จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าว “Night Museum at Chula” สัมผัสเสน่ห์แห่งพิพิธภัณฑ์จุฬาฯ ยามค่ำคืน
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือทางวิชาการกับ Tallinn University จัดกิจกรรม “Arts Talk”
จุฬาฯ จัดพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาฯ
นิสิตแพทย์จุฬาฯ ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
“CU Blood: Dare to Give กล้าที่จะให้” ได้รับบริจาคโลหิตกว่า 900 ถุง บรรเทาปัญหาวิกฤตเลือดขาดแคลน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้