ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าว “Night Museum at Chula” สัมผัสเสน่ห์แห่งพิพิธภัณฑ์จุฬาฯ ยามค่ำคืน

          จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ผู้สนใจเข้าชมยามค่ำคืนเป็นพิเศษในงาน “Night Museum at Chula” 13 – 15 ธ.ค. นี้ 16.00 – 22.00 น. โชว์จุดเด่นพิพิธภัณฑ์จุฬาฯ แหล่งความรู้ทรงคุณค่า พร้อมหลากหลายกิจกรรม ภายใต้แนวคิด “Science meets Art – Art meets Science”

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดแถลงข่าวงาน “Night Museum at Chula” เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน  เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในงาน จากนั้นมีการนำเสนอไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในงาน  “Night Museum at Chula” ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์ภายใต้สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โดย รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดี จุฬาฯ พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดย ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  โดย ศ.ดร.ขําคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนิทรรศการต่าง ๆ ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ โดย ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดี จุฬาฯ
ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.ขําคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

          ในงานแถลงข่าวมีการแสดงชุด “หนุมานจับนางสุวรรณมัจฉา” โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  และการนำเสนอไฮไลต์ของนิทรรศการในงาน “Night Museum at Chula” ได้แก่

– พืชกินแมลง ชาและของว่างจากผลผลิตในสวน จากพิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– โครงกระดูกสัตว์และตัวอย่างสัตว์มีชีวิต เช่น แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน จากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ

– สีสันควอนตัมดอท สารเรืองแสงสีสวยในจอ TV และต้นคริสต์มาสจากผลึกมหัศจรรย์ที่ออกแบบได้ตามใจคุณ โดยภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และแบคทีเรียเรืองแสงที่พบในซูชิ รวมถึงโปรตีนเรืองแสงสีเขียว โดยภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– เพลทอาหารเลี้ยงเชื้อที่จำลองตัวอย่างกลิ่นจากจุลินทรีย์ โดยภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– กิจกรรม Smart Paint Smart Art ทดลองระบายสีและชมวัสดุที่เปลี่ยนสีด้วยความร้อน โดยภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– กล้องโทรทรรศน์ โดยภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– คราบของปูเสฉวนยักษ์และปูแมงมุม โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ

– กิจกรรม “ไพ่เสี่ยงทาย ธันวานี้ไปไหนดี” และตัวต่อปริศนา จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

          งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ณ พิพิธภัณฑ์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2567 เวลา 16.00 – 22.00 น. ในธีม “Science meets Art – Art meets Science” การผสานความงดงามของวิทยาศาสตร์และศิลปะที่พร้อมจะเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ท่ามกลางบรรยากาศ แสง สี เสียง เติมเต็มบรรยากาศพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ยามค่ำคืนที่จุฬาฯ ให้ตื่นตาตื่นใจ งานนี้ได้รับการสนับสนุนและการจัดแสดงโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

เพลิดเพลินไปกับพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมที่น่าสนใจในงาน Night Museum at Chula ดังนี้

  • นิทรรศการ “Beauty and the Beast” ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงผีเสื้อและแมลงสาบ ทูตแห่งการปรับตัวและผู้รอดที่แข็งแกร่ง โดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ดื่มด่ำกับการแสดงดนตรีคลาสสิกจากวงแชมเบอร์ในบรรยากาศที่เชื่อมโยงธรรมชาติและศิลปะ
  • นิทรรศการ “ของดีควรดู : มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ” ที่นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ชวนชม 20 พิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ และพิพิธภัณฑ์พกพา Museum in the box
  • นิทรรศการ “เล่าเรื่องจุฬาฯ ผ่านกาลเวลา” ณ หอประวัติจุฬาฯ จัดแสดงเอกสาร ภาพถ่าย และวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนการเดินทางของจุฬาฯ

นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”

  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • นิทรรศการ “ปีก-THE WING” สำรวจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่มีปีก
    • ผลงานภาพวาดทางวิทยาศาสตร์โดย Estelle Cruz ศิลปิน-นักวิจัยผู้ผสมผสานระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์อย่างลงตัว
    • The Dark Dwellers สัตว์ในเงามืด
    • การผ่าตัดจระเข้ใน “Inside the Animal Body”
    • การลิ้มลองอาหารจากแมลงใน “Are You Hungry?”
    • เสวนา “Citizen Science” ที่ชูบทบาทวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนในงานอนุรักษ์ธรรมชาติ
    • กิจกรรม DIY งานศิลป์รักษ์โลก สร้างกระเป๋าผ้าและเข็มกลัดเป็นของที่ระลึกสุดพิเศษ
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพถ่าย
    • นิทรรศการผลงานภาพที่เกิดจากกระบวนการสร้างภาพด้วยเทคนิคต่าง ๆ
    • ขั้นตอนการอัดและขยายภาพขาวดำในห้องมืด
    • เรียนรู้เทคนิคการใช้แสงและกระบวนการสร้างภาพแบบดั้งเดิม เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทดลองใช้เครื่องมือและสร้างภาพด้วยตัวเอง
  • พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
    • ความเชื่อเกี่ยวกับหินศักดิ์สิทธิ์
    • การจัดแสดงกระดูกไดโนเสาร์ไทย
    • การจัดแสดงหิน “หมูสามชั้น”
    • อัญมณีประจำราศี
    • DIY กระเป๋าหนึ่งเดียวในโลก
    • การตักไข่ไดโนเสาร์ ชิงรางวัลพิเศษ
  • พิพิธภัณฑ์พืชที่มีชีวิต Living Plant Museum
    • พืชกินแมลง
    • สายพันธุ์ข้าวในท้องตลาด
    • ศิลปะพืชที่งดงามเหนือกาลเวลา
    • กิจกรรม DIY เครื่องหอมจากพืช
    • นิทรรศการ “From Garden to the Table” เชื่อมโยงสวนธรรมชาติกับจานอาหารสุดพิเศษ
  • นิทรรศการในภาควิชาต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
    • ภาควิชาฟิสิกส์  กิจกรรม “ชวนพี่น้องมองดาว” ชมท้องฟ้าจำลองและวิดีทัศน์เสมือน
    • ภาควิชาจุลชีววิทยา สำรวจโลกของจุลินทรีย์ เจาะลึกสี กลิ่น และรสชาติของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ภาควิชาชีวเคมี จัดแสดงแบคทีเรียเรืองแสง และโปรตีน GFP โปรตีนเรืองแสงสีเขียวจากแมงกะพรุน ชิมเจลาโต้สูตรสุขภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ค้นพบความลับในการทายวันเกิดที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
    • ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ระบายสีปูนปาสเตอร์หอม DIY พวงกุญแจ การจุ่มกล่องและกาชาปอง รับของที่ระลึก
    • ภาควิชาเคมี การทดลองนาโนเทคโนโลยีที่สร้างแสงระยิบระยับ และสารเรืองแสงที่เปล่งประกายในที่มืด
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เปิดประสบการณ์การสำรวจความงดงามและความลึกลับของโลกใต้ทะเลที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ จัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

  • นิทรรศการ “แฟชั่นแห่งท้องทะเล : ศิลปะจากสิ่งมีชีวิตใต้ผืนน้ำ”
  • จัดแสดงสัตว์น้ำและสัตว์ทะเลหายาก ให้ผู้ร่วมงานสัมผัสใกล้ชิด ผ่าน Touch Tank ที่เหมือนยกทะเลมาไว้กลางกรุงเทพฯ
  • Decorator crab ปูนักตกแต่งซึ่งหาดูได้ยากในธรรมชาติ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอการแสดงศิลปะในสรรพเสียง บทบรรเลงแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม

  • การขับร้องประสานเสียงทีมคอรัส
  • ละครเวทีสั้นเกี่ยวกับการรณรงค์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ รักษ์สัตว์โลก
  • โขนแสดงสด ตอน ตามกวาง เสียงแห่งธรรมชาติและสรรพชีวิต
  • การแสดงดนตรี Music in Museum
  • การแสดงโปงลางที่สร้างความสนุกสนานให้ผู้ร่วมงาน

            ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/NHMCU

           สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร.0-2218-3634-5, 0-2218-3624

           ติดตามข้อมูลนิทรรศการต่างๆ ในงาน Night Museum at Chula ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1awyWcyEate0FscusGW3NtTI_cJPXW8tv/view?usp=sharing

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า