รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธานในพิธีบวงสรวงถวายสักการะพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายฯ และพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะหน้าพระอนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีพิธีเปิดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของอำเภอแม่ริม ณ สนามหน้าพระอนุสาวรีย์ฯ ภายในงานมีการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ถวายโดยกลุ่มศิลปิน ชมรม สถานศึกษา องค์กรต่าง ๆ การออกร้านสาธิตและจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมล้านนา กิจกรรมกาดหมั้ว และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาตลอดทั้งวัน โดยมีประชาชนชาวเชียงใหม่และประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ มาร่วมงานในครั้งนี้อย่างคับคั่ง
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า “เจ้าดารารัศมี” ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา (หากนับทางเหนือ เป็นเดือน 10) หรือตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เวลา 00.30 น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ (ที่ตั้งของ “ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม) เป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์กับเจ้าทิพเกสร มีพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรหนึ่งพระองค์คือเจ้าจันทรโสภา เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ อันเก่าแก่ และทรงโปรดการทรงม้าเป็นอย่างยิ่งในปี พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ข้าหลวงประจำภาคพายัพ ได้อัญเชิญพระกุณฑล และพระธำมรงค์เพชรไปพระราชทานเป็นของเฉลิมพระขวัญแก่เจ้าดารารัศมี คือของทรงหมั้นนั่นเอง รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานตามแบบอย่างเจ้านายในราชวงศ์จักรีเป็นกรณีพิเศษเมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าดารารัศมีได้โดยเสด็จพระบิดาลงมากรุงเทพฯ ด้วยและได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนับแต่นั้นมาต่อมาทรงพระครรภ์ และมีพระประสูติกาลพระราชธิดา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2432 ทรงพระนามว่าพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น “เจ้าจอมมารดาดารารัศมี”พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี มีพระชันษาเพียง 3 ปี 4 เดือน 18 วัน ก็สิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 ในปี 2451 เจ้าจอมมารดาดารารัศมีมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปเยือนนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ “เจ้าจอมมารดาดารารัศมี” ขึ้นเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่งออกพระนามว่า “เจ้าดารารัศมี พระราชชายา” นับเป็นพระอิสริยยศในตำแหน่งพระมเหสีเทวีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กระบวนเสด็จพระดำเนินสู่นครเชียงใหม่ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานอย่างเต็มตามโบราณราชประเพณีประทับอยู่ ณ นครเชียงใหม่ได้หกเดือนเศษ ก็เสด็จนิวัติพระนคร ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเตรียมการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่ มีขบวนเรือเสด็จ ประกอบด้วยเรือถึง 100 ลำเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับเรือยนต์หลวงมารอรับที่อ่างทอง แล้วจึงเสด็จพร้อมกัน 2 พระองค์ไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน ได้พระราชทานสร้อยพระกรเพชรเป็นของพระขวัญ ประทับแรมอยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน เป็นเวลา 2 ราตรี จึงเสด็จพระราชดำเนินและเสด็จกลับถึงพระนคร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพระราชทานเลี้ยงฉลองขึ้นตำหนักสวนฝรั่งกังไส (พระราชวังดุสิต) ซึ่งเป็นตำหนักใหม่ที่โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานเป็นพิเศษ และให้เจ้านายฝ่ายเหนือที่โดยเสด็จพระราชชายาฯลงมากรุงเทพฯ ร่วมโต๊ะเสวยด้วยทุกองค์เมื่อสิ้นรัชกาลที่5 พระองค์ประทับในพระราชวังดุสิต จนกระทั่งปี พ.ศ. 2457 จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่นครเชียงใหม่เป็นการถาวรในบั้นปลายพระชนม์ชีพพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักดาราภิรมย์ ณ สวนเจ้าสบาย อำเภอแม่ริมแวดล้อมด้วยพระประยูรญาติและข้าหลวงในพระองค์เป็นเวลานานถึง 20 ปีจนกระทั่ง วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคพระปัปผาสะพิการ (ปอดพิการ) แพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้พยายามถวายการรักษาอย่างเต็มที่ แต่พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด เจ้าแก้วนวรัฐซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาจึงเชิญเสด็จมาประทับ ณ คุ้มรินแก้ว ในตัวเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้สะดวกที่แพทย์จะถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน อัญเชิญด้ายสายสิญจน์มาผูกพระกรพร้อมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อช่วยในการรักษาพระอาการและโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ถวายรายงานพระอาการให้ทรงทราบเป็นประจำวัน พระอาการก็มิได้ทุเลาลงแต่อย่างใดพระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เมื่อเวลา 15.14 น. ณ คุ้มรินแก้ว สิริพระชันษา 60 ปี 3 เดือน 13 วัน รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศกุดั่นน้อยและเครื่องสูง และให้ข้าราชบริพารไว้ทุกข์มีกำหนด 7 วัน และให้เชิญพระโกศประกอบพร้อมด้วยเครื่องสำหรับพระอิสริยยส ประดิษฐานไว้ที่คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว และโปรดให้ช่างหลวงปลูกสร้างพระเมรุสำหรับพระราชทานเพลิงพระศพที่วัดสวนดอก และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสด็จแทนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และทรงเป็นประธานในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2477 พระสรีรางคารบรรจุที่เจดีย์ในสุสานหลวงวัดราชบพิธ และ กู่ที่วัดสวนดอก
“พระตำหนักดาราภิรมย์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี” เป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นผู้สืบทอดและพิทักษ์รักษา โดยทางราชการได้ขอใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของตำรวจตระเวนชายแดน ในนามค่ายดารารัศมีมาเป็นเวลากว่า 40 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการบูรณะพระตำหนักขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงสภาพเดิม และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและพระกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ท่าน โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ พ่อค้า และประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมกันบริจาคและเสาะหาสิ่งของเครื่องใช้เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์ โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์กองทุนดาราภิรมย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์เป็นเอนกประการอีกด้วย
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ซึ่งรับผิดชอบดูแลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ได้ดำเนินงานตามพันธกิจในการทำนุบำรุง อนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์นฤมิตพิพิธภัณฑ์ เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ให้มีชีวิต สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนชาวแม่ริมและจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน และสร้างกิจกรรมให้เกิดการรับรู้และภาคภูมิใจในถิ่นเกิดให้กับเยาวชน อาทิ โครงการต้นกล้าดาราภิรมย์ และโครงการดาราภิรมย์สัญจร เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันดำเนินการมาครบ 25 ปี มีผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ในการสืบสานพระกรณียกิจสำคัญของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี อาทิ งานสืบสานและอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา งานทำนุบำรุงพระศาสนา งานด้านการศึกษา รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สวนเจ้าสบาย และจัดหากุหลาบ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงผสมพันธุ์ขึ้นใหม่มาปลูกขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นให้คงความสวยงาม
จุฬาฯ ห่วงใยนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ เฝ้าระวังสถานการณ์ PM2.5 พร้อมเสนอแนวทางปฏิบัติ
อธิการบดีจุฬาฯ พบรัฐมนตรีศึกษาฯ กัมพูชา ศิษย์เก่าครุศาสตร์ กระชับความสัมพันธ์และบูรณาการความรู้เพื่อเยาวชนในภูมิภาค
นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษา AEON 1% Club Japanese Speech Contest 2024
Chula SIFE เปิดรับสมัคร SIFE Social Enterprise Case Competition 2025
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดการบรรยายพิเศษ Lecture Series ครั้งที่ 4-5 หัวข้อ “Architecture & Design for Society”
“ย่านบรรทัดทอง สวนหลวง สามย่าน” คว้ารางวัล WOW AWARDS 2025 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้