รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจัดการแสดงดนตรี“รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย – สากล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทัพไทย – สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีจะเสด็จพระราชดำเนินในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรี “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย – สากล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ
พิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปภัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ตามมติของสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 888 วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกซึ่งเป็นฉลองพระองค์ครุยพิเศษสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพระบรมชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแล้วสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2473 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2532 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2533 เนื่องในวาระที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณทิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 40 ปี
ครุยพระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือครุยบัณฑิตพิเศษ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ที่ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนนี้ นอกจากนี้การทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกนั้น จะถวายเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลังพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น
ครุยพระบรมราชูปถัมภกมีลักษณะเป็นครุยผ้าโปร่งขาว มีสำรดติดขอบรอบแขนและปลายแขน พื้นสำรดใช้สักหลาด “สีเหลือง” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ มีขนาดกว้าง สิบเซนติเมตร มีแถบทองกว้างหนึ่งเซนติเมตร ทาบทับบนริมทั้งสองข้าง ตอนกลางติดแถบทองกว้างห้าเซนติเมตร และมีตราพระเกี้ยวทองติดทับบนสำรดตรงหน้าอกทั้งสองข้าง
การแสดงดนตรี “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย – สากล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
ประกอบด้วย การบรรเลงดนตรีไทย และวงดุริยางค์สากลในบทเพลงต่าง ๆ ดังนี้
การแสดงครึ่งแรก การแสดงดนตรีไทย มี 3 องก์
องก์ที่ 1 โหมโรงวชิรราช – วงมหาดุริยางค์ไทย ประพันธ์และอำนวยการบรรเลง โดย ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
องก์ที่ 2 เดี่ยวระนาดเอก เพลงเชิดนอก เรียบเรียงและอำนวยการบรรเลง โดย ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
องก์ที่ 3 เพลงชุดเจ้าพระยา : สายน้ำแห่งกาลเวลาและอารยธรรม ประพันธ์ เรียบเรียงและอำนวยการบรรเลงโดย รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์
ครึ่งหลัง การแสดงดนตรีสากล มี 3 องก์
องก์ที่ 4 เพลง Triumphal March from Aida ประพันธ์โดย Giuseppe Verdi (1813-1901) ผู้อำนวยเพลง นาวาอากาศเอก ลิขิต บุญญา กองทัพอากาศ
องก์ที่ 5 บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
องก์ที่ 6 พระเกียรติยศยิ่งฟ้า มหาวชิราลงกรณ์
ประพันธ์ดนตรีโดย พ.อ.สมเกียรติ จุลโอภาสประพันธ์บทร้องโดย พ.อ.กิรชิต คุณาวงศ์
นักร้อง
ผู้อำนวยเพลง พ.อ.สมเกียรติ จุลโอภาส กองบัญชาการกองทัพไทย
เชิญร่วมงานกาชาด ปี 2567 ที่สวนลุมพินี แวะร้านกาชาดจุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตใหม่หลักสูตรปริญญาโท – เอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568
จุฬาฯ ติดอันดับ TOP 16 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของประเทศไทยใน 2025 QS Sustainability Rankings
นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม International Medical Student Research Conference (IMRC) 2024
ขอเชิญบุคลากรจุฬาฯ ร่วมงาน “Chula Townhall” อธิการบดีพบประชาคมจุฬาฯ
19 ธ.ค. 67 เวลา 12.00 น.
ศาลาพระเกี้ยว
คณะผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชื่อมมิตรภาพสองสถาบัน สู่การพัฒนาการอุดมศึกษาไทย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้