รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน นภันต์ธนัชบ์ พ่วงออมสิน
Education Technology หรือ “EdTech” นั้นเป็นคำศัพท์ใหม่ที่ถูกนิยามขึ้นมาเพื่อใช้เรียกกิจกรรมที่ได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษา จากการศึกษาพบว่าคำศัพท์นี้เป็นคำศัพท์ที่ยังมีความหมายคลุมเครือ
นภันต์ธนัชบ์ พ่วงออมสิน Senior Consultant, Sasin Management Consulting สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ SMC (Sasin Management Consulting) ได้นิยามขอบเขตความหมายของ EdTech ว่าคือ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทั้งในส่วนของ Software หรือ Hardware เพื่อมายกระดับการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการวัดผลการศึกษาแก่ผู้ใช้งานทุกภาคส่วนของระบบการศึกษา” นอกจากนี้ได้กล่าวถึงภาพรวมนโยบายของภาครัฐและปัจจัยผลกระทบต่อการเติบโตต่อธุรกิจ EdTech ด้วย
แนวทางในการแบ่งประเภทของ EdTech
การจัดกลุ่มประเภทของ EdTech ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับมุมมองและวัตถุประสงค์ของผู้จัดกลุ่ม โดยจากการศึกษาพบว่าแนวทางในการจัดกลุ่มประเภทของ EdTech ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีได้แก่
• การจัดกลุ่มตามช่วงระดับการศึกษา เช่น ผู้ใช้ระดับชั้นประถมศึกษา ผู้ใช้ระดับชั้น มัธยมศึกษา และผู้ใช้ระดับปริญญาตรี เป็นต้น
• การจัดกลุ่มตามประเภทของผู้ใช้ เช่น สถาบันการศึกษา ครู นักเรียน และ ผู้ที่ให้บริการสอนนอกเวลา เป็นต้น
• การจัดกลุ่มตามประเภทของเครื่องมือ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเครื่องมือประเภท Augmented reality (AR) และเครื่องมือประเภท Virtual reality (VR) เป็นต้น
• การจัดกลุ่มตามประเภทของวัตถุประสงค์ เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับรวบรวมข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับทำการประเมิณผลผู้ใช้ และ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างการสอน เป็นต้น
ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าการจัดกลุ่มตามประเภทของวัตถุประสงค์ เป็นแนวทางในการจัดกลุ่มที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากการแบ่งตามวัตถุประสงค์นั้นจะสามาถระบุกลุ่มของลูกค้าเป้าหมายของ EdTech ในแต่ละประเภทได้อย่างละเอียดและชัดเจน ซึ่งการแบ่งกลุ่มดังกล่าวมีประโยชน์อย่างสูงในการนำไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของ EdTech ในแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ นภันต์ธนัชบ์และ SMC จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการจัดกลุ่มในรูปแบบดังกล่าว เพื่อประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของ EdTech ในประเทศไทย ส่งผลให้ทางผู้เขียนและ SMC ได้มีการจัดกลุ่มประเภท EdTech ออกเป็น 8 กลุ่มดังต่อไปนี้
Knowledge and Content
EdTech ประเภท Knowledge and Content คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้แพลตฟอร์มเป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลเชิงวิชาการที่ได้มีการรวบรวมไว้ เช่น บทความทางวิชาการ วิทยานิพนท์ หรือข้อมูลเชิงสถิติอันเกี่ยวกับหัวข้อทางวิชาการ เพื่อมาเผยแพร่ต่อให้กับกลุ่มผู้ใช้งาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Knowledge and Content ในระดับสากล
1. Bloomfire 2. Google Scholar 3. Quora 4. Age of Learning 5. Glynlyon
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Knowledge and Content ในประเทศไทย
1. Bookdose 2. Nation International Edutainment
Education Management
EdTech ประเภท Education Management คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ Mobile Application หรือ แพลตฟอร์มเป็นสื่อกลางในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนภายในห้องเรียน รวมถึงช่วยสนับสนุนนักเรียนในการที่จะเตรียมตัวสอบเข้าสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Education Management ในระดับสากล
1. Echo 360 2. Google Classroom 3. Kahoot 4. Zoom 5. AdmitKard
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Education Management ในประเทศไทย
1. Starfish Education 2. Vonder 3. Athenik 4. Eduseeker
New Delivery Models
EdTech ประเภท New Delivery Models คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่ต้องเข้าไปเรียนแบบออฟไลน์ในห้องเรียนมาเป็นการเรียนแบบไม่จำกัดสถานที่ผ่าน Mobile Application หรือ แพลตฟอร์มแบบออนไลน์ โดยการเรียนในรูปแบบใหม่นี้จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนที่สามารถกำหนดเวลาและสถานที่ที่อยากจะเรียนได้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท New Delivery Model ในระดับสากล
1. Coursera 2. edX 3. Udemy 4. Busuu 5. Osmo
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท New Delivery Model ในประเทศไทย
1. Conicle 2. Skill lane 3. Ling 4. StartDee
Immersive Learning
EdTech ประเภท Immersive Learning คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Augmented reality (AR) และ Virtual reality (VR) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Immersive Learning ในระดับสากล
1. Embodied labs 2. Labster 3. Nearpod 4. Transfr VR
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Immersive Learning ในประเทศไทย
1. Dexii 2. VRSPEECH
Learning Support
EdTech ประเภท Learning Support คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เว็ปไซต์ หรือ แพลตฟอร์มเพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและนักเรียน โดยมีตัวอย่างดังนี้
– แพลตฟอร์มในการแชร์สื่อการสอนระหว่างครูผู้สอน
– เว็ปไซต์ที่มีการแนะนำแนวทางในการจัดกิจกรรมในห้องเรียน
– แพลตฟอร์มในการแชร์ตัวอย่างการทดสอบจำลอง (Mock Test)
– แพลตฟอร์มในการแชร์แนวทางการทำการบ้าน และเฉลยการบ้านของนักเรียน เป็นต้น
โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Learning Support ในระดับสากล
1. Better Lesson 2. Curriki 3. Newsela
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Learning Support ในประเทศไทย
1. Inskru 2. OnDemand
Assessment and Verification
EdTech ประเภท Assessment and Verification คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ แพลตฟอร์ม Mobile Application หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อทดสอบและวัดความสามารถของผู้ใช้ในหมวดหัวข้อต่างๆ ที่ผู้ใช้สนใจ รวมถึงในบางผู้ให้บริการจะมีการเอาผลที่ได้จากการทดสอบมาใช้ในการวิเคราะห์และแนะนำแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ใช้อีกด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Assessment and Verification ในระดับสากล
1. Accredible 2. Brainbench 3. 100 Mentors 4. Board Infinity 5. Boldly
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Assessment and Verification ในประเทศไทย
1. Edvisory
Workforce and Talent
EdTech ประเภท Workforce and Talent คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ เว็ปไซต์ แพลตฟอร์ม หรือ Mobile Application ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรของผู้ว่าจ้าง โดยปกติปฏิบัติแล้วจะมีแนวทางการให้บริการอยู่ 2 แนวทางดังนี้
– ผู้ให้บริการทำการจัดทำเนื้อหาทั้งหมดไว้แล้ว และให้องค์กรผู้ประสงค์จะรับบริการทำการเลือกเนื้อหาที่ต้องการเพื่อไปใช้ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรผ่านช่องทาง เว็ปไซต์ แพลตฟอร์ม หรือ แอพพลิเคชั่น
– ผู้ประสงค์จะขอรับบริการเป็นผู้กำหนดโจทย์และกรอบที่ต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถจัดหาเนื้อหารวมถึงแนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามที่ได้รับมอบหมาย
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Workforce and Talent ในระดับสากล
1. Degreed 2. eMentor Connect 3. Pluralsight 4. Simplilearn
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Workforce and Talent ในประเทศไทย
1. SEAC/YourNextU 2. PacRim digital
Skill and Jobs
EdTech ประเภท Skill and Job คือ EdTech ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ แพลตฟอร์ม หรือ Mobile Application เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างฝ่ายที่ต้องการพนักงานอิสระมารับงานเป็นโครงการ กับพนักงานอิสระที่ต้องการหาโครงการ ทั้งนี้การให้บริการของ EdTech ประเภท Skill and Job นั้น ช่วยตอบโจทย์ปัญหาขององค์กรที่มีจำนวนของงานไม่แน่นอนจึงไม่อยากมีพนักงานประจำในจำนวนที่สูง และยังตอบโจทย์ของพนักงานอิสระที่ต้องการโอกาสในการสร้างประสบการณ์และชื่อเสียงของตน โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจในระดับสากลและในประเทศไทยดังนี้
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Skill and Job ในระดับสากล
1. 99designs 2. Awign 3. Upwork
ตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจประเภท Skill and Job ในประเทศไทย
1. Fastwork 2. Jobthai
ภาพรวมขนาดรายได้และสภาพการแข่งขันของธุรกิจ EdTech ในประเทศไทย
จากการประเมินพบว่าธุรกิจ EdTech ในประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 4,580 ล้านบาท ในปี 2564 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโต 12% จนมีมูลค่า 7,280 ล้านบาท ในปี 2568 ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจากการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคการศึกษาได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ต้องมีการเรียนการสอนรวมถึงการสอบในรูปแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาพบว่าการเติบโตของการเรียนออนไลน์และธุรกิจ EdTech นั้นจะกระจุกตัวอยู่ในตัวเมืองเป็นหลักเนื่องจากหลายพื้นที่ในชนบทยังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ในการเข้าถึงการเรียนในรูปแบบออนไลน์ได้
ภาพตลาดการแข่งขันสำหรับธุรกิจ EdTech ในปัจจุบันมีลักษณะที่กระจุกตัวอยู่กับผู้เล่นไม่กี่ราย กล่าวคือกว่า 70% ของสัดส่วนรายได้ทั้งหมดกระจุกตัวอยู่กับผู้เล่น 10 อันดับแรก และสามารถเพิ่มขึ้นไปถึงเกือบ 90% หากนับรวมผู้เล่นทั้ง 20 อันดับ
ข้อจำกัดและความท้าทายของธุรกิจ Edtech ในประเทศไทย
ปัจจุบันธุรกิจ EdTech ในประเทศไทยยังไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมได้ทั้งหมด โดยปัจจุบันขนาดรายได้รวมของผู้เล่นในธุรกิจ EdTech มีขนาดไม่ถึง 10% ชองตลาดทั้งหมดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Total Addressable Market) ของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา โดยจากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจ EdTech ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
– ความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ประเภท Smart Devices ที่ต่ำ โดยจากการศึกษาพบว่ากว่า 80% ของพื้นที่ตามชนบทประชากรยังมีอัตราเฉลี่ยการครอบครอง Smart Devices ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 40% ส่งผลให้บางสมาชิกของครัวเรือนไม่สามารถบริโภคสินค้าและบริการในธุรกิจ EdTech ได้
– การยอมรับประกาศนียบัตรที่ได้จากการศึกษาออนไลน์ที่ต่ำ ปัจจุบันการยอมรับบุคคลที่จบการศึกษาผ่านการเรียนในรูปแบบออนไลน์ยังไม่แพร่หลาย และยังคงมีหลายหน่วยงานและองค์กรที่ไม่ยอมรับบุคคลที่จบการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ ส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นตัดสินใจเลือกที่จะไม่ใช้บริการการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์
– การมีนโยบายที่สนับสนุนจากภาครัฐที่ต่ำ จากการศึกษาพบว่าประเทศที่มีการใช้ EdTech อย่างแพร่หลาย อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา จีน หรือ อินเดีย มีการสนับสนุนจากภาครัฐมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับงบประมาณจากภาครัฐที่ใช้ในการสนับสนุนผู้เล่นในธุรกิจ EdTech ในประเทศไทยส่งผลให้ผู้เล่นที่ต้องการจะประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ EdTech นั้นประสบปัญหาในการสร้างรายได้ และยากต่อการเติบโตในอนาคต นอกจากปัจจัยสำคัญทั้ง 3 ข้อที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระต่อการเติบโตของธุรกิจ EdTech ในประเทศไทยและทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันกับผู้เล่นในระดับสากล เช่น การเข้ามาให้บริการของผู้เล่นที่มีชื่อเสียงระดับสากล สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลให้คนใช้จ่ายกับเรื่องการศึกษาลดลง รวมถึงการขาดแคลน Programmer/Developer ในตลาดแรงงาน เป็นต้น โดยแม้ว่าธุรกิจ EdTech ในประเทศไทยเป็นตลาดธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีโอกาสสร้างรายได้ที่สูง แต่ยังคงมีความท้าทายอยู่อย่างมากสำหรับผู้ที่ประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจ EdTech ในประเทศไทย
ผู้เขียน : นภันต์ธนัชบ์ พ่วงออมสิน ตำแหน่ง Senior Consultant, Sasin Management Consulting สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้