ข่าวสารจุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ “Friend of Thai Science 2024”

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตรองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาฯ และอดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ “Friend of Thai Science 2024จากสำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567  ณ สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงวอชิงตัน โดยได้รับเกียรติจาก น.ส.จุลีพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อัครราชทูตฯ เป็นผู้มอบรางวัล โดยมีอัครราชทูตที่ปรึกษาจากสำนักงานต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ร่วมแสดงความยินดี

นอกจาก รศ.ดร.ณัฐชา  ทวีแสงสกุลไทย แล้ว สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันยังได้มอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้ แก่ Prof. Mark Robson, Dean of the School of Graduate Studies and Associate Vice Provost for Graduate Education. Rutgers School of Graduate Studies – Rutgers University, New Brunswick, New Jersey, USA ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนวงการวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผู้สอนในโครงการ Asian Development Bank Program (ADB) สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ และเป็นหัวหน้านักวิจัยในโครงการฝึกอบรม NIH Fogarty International Training in Research in Environmental and Occupational Health Project (ITREOH) ซึ่งตั้งอยู่ที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ทั้งนี้ Prof. Robson ได้รับพระราชทานปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2552

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้าน STEAM ระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ความเป็นผู้นำในการจัดตั้ง Global Innovation Club ของ รศ.ดร.ณัฐชาได้เชื่อมโยงหน่วยงานระดับโลก รัฐบาล เครือข่ายทางวิชาการ พันธมิตรภาคเอกชน และนักลงทุน โดยมีเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาเป็นประธาน และได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรจากองค์กรภาครัฐและเอกชน เช่น BOI, NXPO, NIA, DEPA, DITP, DIP, Innospace, Thai startup association, Techsauce, และ CU Enterprises ความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Cornell University ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Cornell Global Hub Network ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการวิจัยระดับโลก การเพิ่มขีดความสามารถด้านการศึกษาและการวิจัยของทั้งสองสถาบันผ่านโครงการร่วมกัน รศ.ดร.ณัฐชายังได้สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ (Chulalongkorn School of Integrated Innovation) และ University of California, Berkeley

นอกจากนี้ รศ.ดร.ณัฐชายังได้สร้างความร่วมมือในด้าน Startup ระหว่าง Montgomery County รัฐแมริแลนด์และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้การลงนามอย่างเป็นทางการผ่าน MOU ซึ่งเป็นการสนับสนุนในระดับนานาชาติสำหรับบริษัทไทยที่ขยายกิจการไปยังสหรัฐอเมริกา และบริษัทสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย Chula Deeptech Demo Day 2023 เป็นงานสำคัญที่จัดแสดงวิสาหกิจด้านเทคโนโลยีเชิงลึกมากกว่า 100 แห่ง ดึงดูดตัวแทนจากทั่วโลกกว่า 500 ราย รวมถึงนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากผลงานในด้านต่าง ๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ทำให้ รศ.ดร.ณัฐชาได้รับรางวัล Prime Minister Award: National Startup 2023 ประเภท Evangelist of the Year

สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้มอบรางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science ให้แก่บุุคคลผู้มีคุุณูปการต่อวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย มีผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์และความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยและมนุุษยชาติ โดยระหว่างปี 2561 – 2566 ได้มอบรางวัลนี้ให้ผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทยซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science จากทวีปอเมริกาจำนวน 12 ท่าน จากสหรัฐอเมริกา 11 ท่าน และแคนาดา 1 ท่าน โดยมีการประกาศเชิญชวนหน่วยงาน สมาคมต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปผ่านเว็บไซต์และช่องทางการสื่อสารของสำนักงานฯ เพื่อเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และได้ผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกเป็นผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวในปีนี้จำนวน 2 ท่าน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า