รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มิถุนายน 2562
ข่าวเด่น
อีกครั้งกับความสำเร็จของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านกลุ่มวัสดุทันตกรรมของประเทศ “วัสดุเรซินมอดิฟายกลาสไอโอโนเมอร์ที่แข็งตัวด้วยแสง เอ็มเบส” (Embaze®) และ “วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่แข็งตัวด้วยการฉายแสงแบบใสและแบบสีขาวเหมือนฟัน ออลซิลล์” (All-Zeal®) ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย เดือนพฤษภาคม 2562 จากสำนักงานอาหารและยา (อย.กลุ่มเครื่องมือแพทย์) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
“วัสดุเรซินมอดิฟายกลาสไอโอโนเมอร์ที่แข็งตัวด้วยแสง เอ็มเบส” (Embaze®) ใช้เพื่อบุหรือรองพื้นคาวิตี้ก่อนการอุดฟัน ประกอบด้วยส่วนผงกลาสฟลูออโรอะลูมิโนซิลิเกต และส่วนของเหลวกลุ่มไดเมทาคริเลตมอนอเมอร์ พอลิคาร์บอกซิเลตโคพอลิเมอร์ และสารไวต่อแสง โดยผงกลาสฟลูออโรอะลูมิโนซิลิเกตมีแคลเซี่ยมสูงซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของฟันที่สูญเสียไปจากกรดของแบคทีเรีย และมีฟลูออไรด์ไอออนเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อฟัน
สำหรับ “วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่แข็งตัวด้วยการฉายแสงแบบใสและแบบสีขาวเหมือนฟัน ออลซิลล์” (All-Zeal®) ใช้ในการเคลือบหลุมและร่องที่ลึกของฟัน ทำให้ผิวฟันเรียบขึ้น ง่ายต่อการแปรงฟันทำความสะอาด และช่วยป้องกันการเกาะติดของเศษอาหารแผ่นคราบจุลินทรีย์ ทำให้โอกาสเกิดฟันผุลดน้อยลง โดยใช้ร่วมกับฮาโลบลูเจล เป็นวัสดุเสริมช่วยทำความสะอาดผิวเคลือบฟันให้เหมาะสมก่อนการเคลือบหลุมร่องฟัน
นวัตกรรมดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือและสนับสนุนแบบสหศาสตร์จากกลุ่ม 4Ds project นำโดย ศ.ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล และคณาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ภายใต้การดูแลของหลักสูตรสหสาขาทันตชีววัสดุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=8879&mid=290&catID=0
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้