ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568  ได้แก่ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568

         – ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) จากคณะแพทยศาสตร์

         – ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม (สาขาการศึกษา) จากคณะครุศาสตร์

         – รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ (สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์) จากคณะรัฐศาสตร์

รางวัลผลงานวิจัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 12 ผลงาน จาก 53 ผลงานใน 12 สาขาวิชาการ ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

– รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชานิ และคณะ จากคณะเภสัชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาสารต้นแบบยาเคมีบาบัดสาหรับมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กจากเตตราไฮโดรโซควิโนลีนแอลคลอยด์โดยมุ่งเป้าการตายแบบอะพอพโทซิส” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

– รศ.ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “กลไกการยึดครองเซลล์แบคทีเรีย : กุญแจสำคัญสู่การออกแบบสูตรผสมเฟจฆ่าเชื้อดื้อยาประสิทธิภาพสูง” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– ผศ.ดร.สุรัชดา รีคี จากคณะนิติศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ทรัสต์เพื่อการกุศลสาหรับสุสานและสักการสถานในประเทศไทย : ข้อยกเว้นทางประวัติศาสตร์” (สาขานิติศาสตร์)

– ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “VR Journey: นวัตกรรมระบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเสมือนในบริบทการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของผู้เรียนอุดมศึกษา” (สาขาการศึกษา)

รางวัลระดับดี จำนวน 8 รางวัล ได้แก่

– ศ.น.สพ.ดร.นพดล พิฬารัตน์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “นาโนเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตวแพทย์เพื่อสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์น้ำ” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– รศ.สพ.ญ.ดร.อัญญรัตน์ ต้นธีรวงศ์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ไวรัสอุบัติใหม่ดักเทมบูซู: จากการค้นพบไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคสู่การสร้างและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– ศ.ดร.ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การบูรณาการเทคโนโลยีฐานโอมิกส์เพื่อความเข้าใจกลไกการสุกระดับโมเลกุลของผลทุเรียน” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจารูญลาภ จากคณะนิติศาสตร์ ผลงานเรื่อง “บทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) และแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” (สาขานิติศาสตร์)

– รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ จากคณะรัฐศาสตร์ ผลงานเรื่อง “โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (สาขาเศรษฐศาสตร์)

– รศ.ดร.คณิสร์ แสงโชติ และ ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ผลงานเรื่อง “ความสัมพันธ์กับธนาคารและลาดับการผิดนัดชาระหนี้ส่วนบุคคล : หลักฐานจากข้อมูลประเทศไทย” (สาขาเศรษฐศาสตร์)

– รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย และคณะ จากคณะรัฐศาสตร์ ผลงานเรื่อง “นิยามความเป็นอยู่ที่ดีบนโลกดิจิทัลสำหรับสังคมไทย 5.0 : หนทางในการอยู่ร่วมกันจากประสบการณ์เชิงลึกระหว่างประชากรต่างรุ่นในสังคม” (สาขาสังคมวิทยา)

– ผศ.ดร.สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม และ รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา จากคณะนิเทศศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ความเข้าใจบริการโทรเวชกรรม และการพัฒนาสื่อเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพของประชาชน เรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนตามภารกิจกรมการแพทย์” (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)

รางวัลวิทยานิพนธ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 4 ผลงาน จาก 52 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชาการ ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

– ดร.สวรรยา ทับแสง จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเครื่องดนตรีไทยลมราย” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์

รางวัลระดับดี จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

– ดร.ทวีวัฒน์ สมบูรณ์ปัญญากุล จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การค้นหากระจุกกาแลคซีทั้งใกล้และไกลที่มีลักษณะเฉพาะ” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : Prof. Michael McDonald

– ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ จากคณะอักษรศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตวิสัยของผู้หญิงผ่านผลงานวรรณกรรมจีน แนวสตรีนิยมของนักเขียนหญิง: หวังอันอี้ เถี่ยหนิงและฉือลี่” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof. Yingjie Guo

– ดร.ณชนก หล่อสมบูรณ์ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล” (สาขาการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 5 ผลงาน จาก 62 ผลงาน ใน 9 สาขาวิชาการ มีดังนี้

รางวัลระดับดี จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

– ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดเชิงเคมีไฟฟ้าโดยใช้วิธีอิมมูโนแอสเสย์สำหรับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

– ดร.นิภาพรรณ ฤาซา และคณะ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัด E. coli แบบพกพาและรู้ผลเร็วเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำและอาหาร” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– น.ส.พัตรพิมล กิจชนะกานต์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การผลิตรีคอมบิแนนท์เอนไซม์พีอีทีเอส (PETase) ที่สามารถหลั่งออกภายนอกเซลล์และย่อยสลายพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) โดยอาศัยแบคทีเรียอโคไล สายพันธุ์โรเซตตา-แกมมี” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

– ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ProgressME : ชุดนวัตกรรมแชทบอทบูรณาการร่วมกับอุปกรณ์ IOT เพื่ออัพสกิลสมรรถนะทางวิชาชีพส่วนบุคคลอย่างอย่างยั่งยืนของนักศึกษาแพทย์” (สาขาการศึกษา)

– รศ.ดร.รัชนีกร หงส์พนัส จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “สื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ “จักรวาลนฤมิต Historicovator” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในโลกยุคบานี” (สาขาการศึกษา)

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า