รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น
งาน Night Museum at Chula จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 -15 ธันวาคม 2567 เวลา 16.00 – 22.00 น. ในธีม “Science meets Art – Art meets Science” คณะศิลปกรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมจัดงานในครั้งนี้ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ
ตลอดทั้ง 3 วันที่จัดงานในครั้งนี้ นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมจัดการแสดง โดยมีนักแสดงสมทบจากกลุ่ม AUN -AYCF Thailand 5 มหาวิทยาลัย (คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยนิสิต ศิษย์เก่า สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทยและภาควิชานาฏยศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และนักแสดงสมทบจากมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เครือข่ายการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมของคณะศิลปกรรมศาสตร์กว่า 120 ชีวิตร่วมจัดการแสดง
การแสดงพิธีเปิดชุด “วัฏชีวิน กู่ร้องทำนองรัก(ษ์)” การขับร้องประสานเสียง ผสมผสานทำนองระบำที่ประพันธ์ใหม่ประกอบการแสดงชุด “กินรีเบิกพนา” โดยหัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ พร้อมละครเวทีที่แรงบันดาลใจ สร้างความตระหนักในอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การแสดงชุดมาลีรวมใจ โขนพระรามตามกวาง ระบำอาเซียน การแสดงลีลาเล็บลีลาไทย การเต้นบาสโลบ การแสดงวงโปงลางประกอบการฟ้อนตังหวาย เซิ้งกะโป๋ เซิ้งโปงลาง การแสดงวงดนตรีไทยบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติวิทยา ได้แก่ โหมโรงไอยเรศ เพลงนกเขาขะแมร์ เพลงจระเข้หางยาว การเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม เพลงนกขมิ้น เพลงสารถี การแสดงระบำไก่ของฟิลิปปินส์ การแสดงหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา เพลงลาทะเลบ้า (เถา) และการบรรเลงวงเครื่องสายไทยในแนวคิด Music in the Museum อำนวยการฝึกซ้อมและการแสดงโดย รศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์
ผลงานของ อ.ดร.พรรัก เชาวนโยธิน อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ ทีมบริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์ จัดแสดงผลงานศิลปะผ่าน VR technology ภายใต้แนวคิด “Science meets Art – Art meets Science” ที่พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ชั้น 3 ตึกภาควิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาตร์ โดยนิสิตสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย นิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ และนิสิตวิชาภาควิชาทัศนศิลป์
ผลงานของ อ.ดร.นภัสมล จันทร์ภิบาล และอาจารย์ ดร.จนัธ เที่ยงสุรินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชานฤมิตศิลป์ ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ และพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดนิทรรศการผีเสื้อและแมลงสาบ “Beauty and the Beast: ทูตแห่งการปรับตัวและผู้รอดที่แข็งแกร่ง” ชื่นชมความงามและการปรับตัวของผีเสื้อและแมลงสาบ สองตัวแทนแห่งการวิวัฒนาการ พร้อมสัมผัสผลงานสร้างสรรค์ Projection Mapping และการออกแบบลวดลายที่ท้าทายจินตนาการ
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้