รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ และเอกชน ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) “One Click” สำหรับผู้ประกอบการ SME ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเข้าถึงสินเชื่อสีเขียว (Green Finance) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสู่ยุคเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งพัฒนาร่วมกับบริษัท เวคิน (ประเทศไทย) (VEKIN) ที่ออกแบบให้ SME สามารถรายงานและรับรองรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ โดยมีต้นทุนต่ำ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech)
การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ณ CHULALONGKORN BUSINESS CINEMA ชั้น 3 อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามกับ ดร.อภิรดี ขาวเธียร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดร.ศกยง พัฒนเวคิน ผู้ก่อตั้งบริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด นายอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) นายสาธิต บุญโฉลก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่าย Product Management, Customer Experience and Digital ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) และนายเจษฎา วานิชสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัน อิเล็กทรอนิกส์ บิลลิ่ง จำกัด (มหาชน)
จากนั้นมีการเสวนาในหัวข้อ “Climate Finance: ประตูสู่ความยั่งยืนของ SME ไทย” โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ประกอบด้วย นายธาดา วรุณโชติกุล ผู้จัดการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายเจษฎา วานิชสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัน อิเล็กทรอนิกส์ บิลลิ่ง จำกัด (มหาชน) ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินรายการโดย น.ส.อัจฉรา ปู่มี Founder และ CEO บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
นอกจากนี้ภายในงานมีการเปิดตัว “One Click” ซึ่งเป็นการนำ AI มาช่วยในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ SME ไทย สามารถประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถเข้าถึงสินเชื่อ สีเขียว (Green Loan) เพื่อช่วยให้ SME ปรับตัวสู่การทำธุรกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นก้าวแรกของประเทศไทยในการมุ่งสู่ เป้าหมาย Net Zero และการขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น และการเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ถือเป็นก้าวสำคัญที่จุฬาฯ และ สสว. ร่วมกับพันธมิตรส่งเสริมประเทศไทยตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 8 คือส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นหน้าที่ของทุกคนทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคธุรกิจ โดยผู้ประกอบขนาดกลาง และขนาดย่อม ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ SME จึงถือเป็นวาระระดับชาติ ความร่วมมือนี้ถือเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่จะนำ SME สู่ความยั่งยืน พร้อมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจสีเขียว และถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศเข้าใกล้เป้าหมาย Net Zero มากขึ้น
รศ.ดร.ดนุพล หุ่นโสภณ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่าเป็นการผลักดันผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้ก้าวเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายของโลกอนาคต ความร่วมมือครั้งนี้ยังเน้นการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการแข่งขันระดับสากล โดยมุ่งพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานความยั่งยืน อาทิ การลดการปล่อยคาร์บอนหรือ ทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และด้วยความเข้าใจถึงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีและทรัพยากรของ SME ความร่วมมือครั้งนี้จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึง “Green Finance” หรือแหล่งเงินทุนที่มุ่งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพองค์กร เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง โครงการดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยผลักดันผู้ประกอบการไทยให้สามารถเติบโตและสร้างความมั่นคงในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน
ดร.อภิรดี ขาวเธียร รองผู้อำนวยการ สสว. กล่าวเสริมว่า “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับ SME เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจโลกสีเขียว ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันและการเข้าถึงแหล่งทุน ดังจะเห็นได้จากเกณฑ์ประกอบการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน มีการนำแนวคิดดังกล่าวมามีส่วนในการพิจารณา เช่น Green Loan หรือ Climate Finance ดังนั้นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในโครงการ One-Click นี้ จะเป็นผู้ช่วยที่สำคัญให้แก่ SME ในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ SME แบบอัตโนมัติ เปิดโอกาสให้ SME เข้าถึง Climate Finance ได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และพร้อมรับมือกับโอกาสทางธุรกิจ ใหม่ ๆ รวมถึงมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) ของภาครัฐ ในอนาคต”
ขณะที่ ดร.ศกยง พัฒนเวคิน ผู้ก่อตั้งบริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “ปัจจุบันข้อมูลผู้ประกอบการ SME ถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล แต่กระจายอยู่ในหลายภาคส่วน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการเข้าถึงและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเคารพความเป็นส่วนตัว ดังนั้นปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงสามารถเข้ามาช่วยในการติดตามแบบอัตโนมัติ รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ให้แก่ SME ได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และต้นทุนต่ำ โดยสามารถนำเสนอประสบการณ์การใช้งานในรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ใช้งานเสมือนเพียง One-Click ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโครงการความร่วมมือนี้ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน โครงการ One-Click ได้การรับรองมาตรฐาน dSURE ระดับ 2 ดาว จาก DEPA และการรับรองมาตรฐาน CF Platform”
สำหรับปัญญาประดิษฐ์ในโครงการ “One Click” นี้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มกราคม 2568 โดยผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับทุนสนับสนุนตามขนาดธุรกิจจาก สสว. ภายใต้การส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ “SME ปัง ตังได้คืน” เริ่มต้นที่ 8,000 บาท สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และ 5,000 บาท สำหรับธุรกิจ SME ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
“SIAM STREET OF THE STARS” เนรมิต Siam Square เป็น Walking Street ถนนแห่งดวงดาวผ่านงานไฟสุดยิ่งใหญ่ และเวทีสุดอลังการให้เยาวชนไทยได้ฉายแสงแจ้งเกิดข้ามปี
25-31 ธ.ค. 67
Walking Street สยามสแควร์
สื่อระดับโลก CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย “เหงื่อ”
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้