ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ

ผศ.ดร.ธนสิน ชุตินธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม จุฬาฯ  และ รศ.ดร.พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (ศคภ.) เป็นตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประชุม 5th Asia-Pacific University-Community Engagement Network (APUCEN) Summit ณ เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคม 2567 โดยได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ และนำเสนอผลงานเรื่อง “Community Engagement Activities for Reforestation and Afforestation by Chulalongkorn University” ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ โดยได้รับความสนใจจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการใช้เชื้อรา Ectomycorrhiza ร่วมกับการฟื้นฟูป่า 

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 12 APUCEN Council Members จากสถาบันอุดมศึกษา 106 สถาบัน จาก 21 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะยกระดับและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “CU Social Engagement” ซึ่งนำโดย รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ

ยุทธศาสตร์ “CU Social Engagement” ประกอบด้วย 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

  1. Social Engagement for SDGs – สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. Social Engagement for Thai Society – เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมไทย
  3. Cultural Engagement for Art and Music Communities – ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมผ่านชุมชน   

การได้รับเลือกเข้าร่วม APUCEN Summit 2024 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญในพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายระดับนานาชาติ เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Asia-Pacific University – Community Engagement Network (APUCEN) หรือเครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคของสถาบันอุดมศึกษา และองค์กรที่มีความสนใจ ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมวัฒนธรรมการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ในชิงรุก ครอบคลุมทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 

APUCEN ได้รับแรงบันดาลใจจากความเชื่อที่ว่าสถาบันอุดมศึกษาและชุมชนสามารถร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คน รวมถึงแก้ปัญหาในสังคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยความร่วมมือนั้นไม่ได้เป็นไปในรูปแบบของการให้บริการวิชาการ (academic services) หรือการถ่ายทอดความรู้ (knowledge transfer) ตามที่ดำเนินการโดยทั่วไป แต่ควรเป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน หรือความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเอง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบและสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน (knowledge co-design and co-creation) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหา (knowledge for change) ตามความต้องของชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยังคงให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ทางวิชาการ และสร้างจิตสำนึกพลเมืองที่ดีของนิสิตนักศึกษา และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า