รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 กรกฎาคม 2562
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
โครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มฟื้นฟูผิวจากสารสกัดน้ำนมเหลือง (Bio Colostrum Repair Serum) พัฒนาโดย ผศ.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างมูลค่าให้กับน้ำนมวัวเหลือทิ้งหลังจากลูกวัวดื่มนมไม่หมด
ผลิตภัณฑ์เซรั่มฟื้นฟูผิวจากสารสกัดน้ำนมเหลืองนี้ มีจุดเริ่มตันมาจากนิสิตระดับปริญญาเอกของจุฬาฯ ซึ่งต่อมา ผศ.นพ.อมรพันธุ์ ได้ทำการศึกษาวิจัยต่อในเรื่องน้ำนมเหลืองของวัว ในองค์การส่งเสริม กิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ซึ่งเป็นน้ำนมภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่เมื่อลูกวัวดื่ม ไม่หมด เกษตรกรก็จะต้องนำไปทิ้ง เนื่องจากน้ำนมมีสีเหลือง ขายไม่ได้ราคา ถือเป็น วัสดุทิ้งเปล่าทางการเกษตรที่มีปริมาณไม่น้อย
ผลการวิจัยพบว่า น้ำนมเหลืองมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มคอลลาเจน ลดอนุมูลอิสระ ลดความเป็นพิษและการตายของเซลล์ ทั้งยังมีเปปไทด์สายสั้นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตได้สูงมาก ที่สำคัญคือประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำนมเหลืองมาก่อน ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้อย่างมหาศาล
ขณะนี้ผลิตภัณฑ์เซรั่มฟื้นฟูผิวจากสารสกัดน้ำนมเหลืองได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยคณะแพทยศาสตร์ได้ลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และ อ.ส.ค. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโคนม ซึ่งในอนาคตคาดว่า จะมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยา อาหารเสริม เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตด้วย
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สารสกัดน้ำนมเหลืองนี้ยังได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้รับรางวัลพิเศษจากสมาคมนักประดิษฐ์โปแลนด์อีกด้วย
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้