ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ-NTU ร่วมมือซ่อมฝายชะลอน้ำในจังหวัดน่าน พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์ จัดโครงการความร่วมมือเพื่อสังคม CU x NTU Overseas Community Engagement Project 2024 ระหว่างวันที่ 12 – 23 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จังหวัดน่าน เพื่อซ่อมแซมฝายชะลอน้ำและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำบนพื้นที่สูงแก่นิสิตทั้งสองสถาบัน พร้อมศึกษาโมเดลธุรกิจชุมชนจากวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจเอกชนในท้องถิ่นเพื่อทำกิจกรรม Mini Hackathon สร้างการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

CU x NTU Overseas Community Engagement Project 2024 จัดโดยสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ทางวิชาการกับการปฏิบัติจริง พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหา และการคิดเชิงวิพากษ์  พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลกและชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17) เพื่อเป็นแบบอย่างการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและสร้างแรงบันดาลใจให้นิสิตตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างแท้จริง

กิจกรรมในโครงการครอบคลุมการปฏิบัติงานจริงในการซ่อมแซมฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าชุมชน โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่จากศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค การบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่และปัญหาด้านการเกษตรของจังหวัดน่าน จากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร วิทยากรและปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น  การบรรยายเรื่องความสำคัญของฝายชะลอน้ำต่อชุมชนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศจากศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค การเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน และธุรกิจเอกชนในท้องถิ่นได้แก่ ร้านกาแฟบ้านไทลื้อ และร้านกาแฟเฮือนฮังต่อ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับใช้ในกิจกรรม Mini Hackathon ที่ให้นิสิตร่วมกันระดมสมองหาแนวทางพัฒนาจังหวัดน่านอย่างยั่งยืนจากข้อมูลที่นิสิตได้เรียนรู้มา  โดยมุ่งเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  ข้อที่ 1 (ขจัดความหิวโหย) ข้อที่ 2 (ขจัดความยากจน) และข้อที่ 15 (ชีวิตบนบก) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ ศรีวิศาล ผู้ช่วยอธิการบดี สำนักบริหารกิจการนิสิต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กิตนะ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ร่วมเป็นกรรมการตัดสินและให้คำแนะนำแก่นิสิต  สะท้อนความสำคัญที่มหาวิทยาลัยให้กับการพัฒนานิสิตให้เป็น “Glocal Citizen พลเมืองโลกที่ไม่ทอดทิ้งท้องถิ่น”


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า