ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ – มหิดล ร่วมมืองานวิจัย RUN: One Health เรื่องโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ

นักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมระดมความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการประชุมเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) กลุ่มวิจัยด้าน One Health เรื่องโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ณ ห้องทองหล่อ ชั้น 4 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท

ศ.ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า “การประชุมระดมสมองของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) ในกลุ่มวิจัยด้าน One Health มีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพหลัก โดยมหาวิทยาลัยในเครือข่ายร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะการวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายและมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม การร่วมมือกันในเครือข่ายพันธมิตรนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรในการวิจัย รวมถึงการพัฒนาแนวทางการจัดการและป้องกันโรคที่มีความเสี่ยงสูง การจัดการโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อความท้าทายด้านสุขภาพได้ในอนาคต”

รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการสร้างบรรยากาศในการทำวิจัยที่ต้องการให้นักวิจัยจากทุกมหาวิทยาลัยในเครือข่ายได้ทำความรู้จัก เรียนรู้ แลกเปลี่ยน รวมถึงสร้างโอกาสในงานวิจัยที่จะทำร่วมกัน โดยมีผู้นำทีมและหัวข้อเรื่องการวิจัยเพื่อชี้นำให้เกิดการระดมสมองและแตกประเด็นไปยังงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งแม้ว่าในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนประเด็นการวิจัยให้เป็นไปตามความเหมาะสม แต่นักวิจัยก็สามารถมองหาความร่วมมือได้จากกัลยาณมิตรในเครือข่าย

สพ.ญ.ดร.นิธิรา อนัคกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN Office) กล่าวถึงความเป็นมาของการสร้างเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) และแผนการจัดงาน RUN SUMMIT 2025 ที่สนับสนุนการทำงานวิจัยข้ามศาสตร์มากยิ่งขึ้นในโจทย์ปัญหาสำคัญของชาติใน 4 หัวข้อ ได้แก่ Electronic Waste, One Health, Food Security: Productivity และ การจัดการฝุ่น PM 2.5

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับมอบหมายจากเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) ให้เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินกิจกรรมเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ในกลุ่มวิจัยด้าน One Health เรื่องโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ โดยจัดการประชุมเพื่อระดมสมองในการวางแผนเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการวิจัยเชิงหลักการ (Pre Concept Proposal) ก่อนวันจัดงาน RUN SUMMIT 2025 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีหัวข้อสนทนาดังนี้

  1. RUN collaboration on clinical registry and clinical trials
  2. mRNA synergy – 90 days towards a vaccine prototype
  3. การพัฒนาแพลตฟอร์มการสร้างแอนติบอดีเพื่อการป้องกันและรักษาโรคจากไข่ไก่
  4. การศึกษาผลกระทบและการใช้พื้นที่ของสุนัขจรจัดในอุทยานแห่งชาติ และมุมมองของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวข้องกับประชากรสุนัขจรจัด
  5. การสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยแมลงจากสัตว์ป่าสู่คน
  6. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิธีการในการตรวจวินิจฉัย ควบคุม ป้องกันการอุบัติของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน ในวงจรการทำฟาร์มสัตว์น้ำเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียว
  7. Using a “One Health” Metagenomics-Based Approach for Surveillance of Emerging Zoonotic Pathogens in Blood-Sucking Insects (Mosquitoes, Sand Files, and Biting Midges) in Thailand
  8. การแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อด้วยแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับจีโนม

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า