รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มกราคม 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, Awards & Honours, Featured News
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ ในโอกาสที่ได้รับ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อันเป็นเกียรติยศที่มอบให้แก่นักวิจัยที่อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติงานด้วยจริยธรรมของนักวิจัยครบถ้วน และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในวงวิชาการ อันเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิจัยในรุ่นต่อไป
“จุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยของดิฉันเกิดจากความสนใจใคร่รู้ในประเด็นปัญหาการศึกษาไทย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนในทุกระดับ” “เมื่อครั้งที่ดิฉันเป็นอาจารย์ใหม่ๆ ได้พบเห็นผู้เรียนในพื้นที่ต่างๆ ยังขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือดิจิทัล จึงอยากทำวิจัยด้านนี้เพื่อให้งานวิจัยสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา และเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา” ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม กล่าว
“จุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยของดิฉันเกิดจากความสนใจใคร่รู้ในประเด็นปัญหาการศึกษาไทย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนในทุกระดับ”
“เมื่อครั้งที่ดิฉันเป็นอาจารย์ใหม่ๆ ได้พบเห็นผู้เรียนในพื้นที่ต่างๆ ยังขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือดิจิทัล จึงอยากทำวิจัยด้านนี้เพื่อให้งานวิจัยสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา และเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา”
ระบบ National Digital Learning Platform หนึ่งในผลงานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ “ระบบ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย” โดยระบบนี้ได้รับการออกแบบเป็น Framework หรือเกณฑ์กลางที่ช่วยให้โรงเรียนและหน่วยงานการศึกษาสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตอบโจทย์บริบทของประเทศไทย
ทั้งนี้ ศ.ดร.เนาวนิตย์ เผยถึงโครงการวิจัยสำคัญที่กำลังวิจัยในปัจจุบัน
“ความสำเร็จ เกิดจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท และการสนับสนุนจากทีมงานและหน่วยงานต้นสังกัด โดยเธอยึดหลักการ “พัฒนาคน พัฒนางาน” ในการสร้างทีมวิจัยที่เข้มแข็ง พร้อมส่งเสริมให้ทีมงานแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่” ศ.ดร.เนาวนิตย์ กล่าวเพิ่มเติม “อุปสรรคที่พบ เช่น การประสานงานระหว่างหน่วยงานและข้อจำกัดด้านงบประมาณ ได้รับการแก้ไขผ่านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในวงกว้าง”
“ความสำเร็จ เกิดจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท และการสนับสนุนจากทีมงานและหน่วยงานต้นสังกัด โดยเธอยึดหลักการ “พัฒนาคน พัฒนางาน” ในการสร้างทีมวิจัยที่เข้มแข็ง พร้อมส่งเสริมให้ทีมงานแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่” ศ.ดร.เนาวนิตย์ กล่าวเพิ่มเติม
“อุปสรรคที่พบ เช่น การประสานงานระหว่างหน่วยงานและข้อจำกัดด้านงบประมาณ ได้รับการแก้ไขผ่านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในวงกว้าง”
การขยายผลงานวิจัยสู่นานาชาติ ในอนาคต ศ.ดร.เนาวนิตย์ มีเป้าหมายที่จะขยายผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมการศึกษาไปสู่ระดับนานาชาติ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายวิจัยในภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
“การวิจัยที่ดีต้องเริ่มจากโจทย์ที่ท้าทายและมีความหมาย อย่ากลัวที่จะเริ่มจากจุดเล็กๆ แต่ขอให้มุ่งมั่นทำอย่างต่อเนื่อง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ อย่าลืมว่าการวิจัยที่ดีต้องสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ” ศ.ดร.เนาวนิตย์ กล่าวทิ้งท้าย
“การวิจัยที่ดีต้องเริ่มจากโจทย์ที่ท้าทายและมีความหมาย อย่ากลัวที่จะเริ่มจากจุดเล็กๆ แต่ขอให้มุ่งมั่นทำอย่างต่อเนื่อง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ อย่าลืมว่าการวิจัยที่ดีต้องสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ”
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้