ข่าวสารจุฬาฯ

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ จัดงาน “Asia Forward Series” ครั้งที่ 1 ไทย-ออสเตรเลีย: โอกาสและความท้าทายในโลกที่ผันผวน

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดงาน Asia Forward Series ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “Thailand-Australia: Opportunities and Challenges in a Volatile World” เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวรายงานพิเศษ และ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวรายงาน มีผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก

รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
รศ.ดร. ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

งาน Asia Forward Series ครั้งที่ 1ได้รับเกียรติจากนางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูตไทยประจำออสเตรเลีย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Australia – Thailand Connectivity in a Changing World” นำเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับทิศทางการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย

นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูตไทยประจำออสเตรเลีย

อีกหนึ่งช่วงสำคัญของงานคือการเสวนาในหัวข้อ “Australia – Thailand Connectivity in a Changing World” โดย ผศ.ดร.สินีนาฏ เสริมชีพ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และคุณเสกสรร อานันทศิริเกียรติ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศ




รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของการจัดงาน Asia Forward Series ว่าเป็นความริเริ่มของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ในการยกระดับผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยเข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อสร้างผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้าง

งาน Asia Forward Series ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างการเชื่อมโยงเชิงนโยบายและนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการวิจัยไปต่อยอด เพื่อพัฒนาสังคมไทยในหลากหลายมิติ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างต่อเนื่อง

รศ.ดร. ภาวิกายังได้กล่าวถึงเป้าหมายระยะยาวของโครงการ Asia Forward Series ว่า จะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสำหรับผู้ที่สนใจประเด็นร่วมสมัยในระดับภูมิภาค โดยมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในประเด็นสำคัญ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนสีเขียว (Green Transition) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) พร้อมทั้งมุ่งหวังให้โครงการนี้เป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการสร้างนวัตกรรมที่ส่งผลต่อสังคมอย่างแท้จริง

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า