ข่าวสารจุฬาฯ

นักเรียนสาธิตจุฬาฯ พบศิลปินไร้แขน สร้างแรงบันดาลใจในงานศิลปะ

การสัมผัสสุนทรียะในงานศิลปะไม่ได้จำกัดแค่การเรียนในห้องเรียนหรือในตำราเรียนวิชาศิลปศึกษาเท่านั้น การได้ออกไปชื่นชมผลงานศิลปะที่จัดแสดงนิทรรศการ ณ หอศิลป์ และสัมผัสกับศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ จะช่วยจุดไฟฝัน และสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีความรักในงานศิลปะตั้งแต่เยาว์วัย จะสร้างความอ่อนโยนในจิตใจ ส่งผลให้เด็กมีใจรักในงานศิลป์ซึ่งจะติดตัวไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เมื่อเร็วๆนี้ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้นำนักเรียนชั้น ป.2 ในโครงการส่งเสริมศักยภาพทางด้านศิลปะแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ หรือโครงการ Art Learning ไปชมผลงานศิลปะของอาจารย์สาโรจน์ ตั้งตฤษณกุล ศิลปินไร้แขนทั้งสองข้างผู้มีความสามารถพิเศษในการวาดภาพบุคคล (Portrait) ด้วยเทคนิคสีน้ำได้อย่างสวยงามเหมือนจริง  ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ หอศิลป์จามจุรี ระหว่างวันที่ 11 – 30 มิถุนายนที่ผ่านมา

         

อาจารย์สมใจ จงรักวิทย์  ประธานโครงการ Art learning โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม  เปิดเผยว่า โครงการ Art learning ได้ดำเนินการมา 9 ปีแล้ว  กิจกรรมในโครงการมีการนำนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านศิลปะมาทำกิจกรรมนอกเวลาเรียน เช่น การดูงานในหอศิลป์ ได้พบปะสนทนากับศิลปิน  ซึ่งจะทำให้เด็กซึมซับสุนทรียะ มีศิลปะในหัวใจ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้มีความละเอียดอ่อน

“อาจารย์สาโรจน์เป็นศิลปินที่มากด้วยฝีมือและความสามารถ แม้จะมีความบกพร่องทางกาย แต่มีใจที่อดทน  มุมานะ สามารถสร้างสรรค์ภาพ Portrait ได้อย่างสวยงามและมีชีวิต ด้วยจิตใจที่ไม่ย่อท้อจนประสบความสำเร็จ การที่นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้มีโอกาสมาพบศิลปิน ทำให้เด็กๆ ได้แรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะเป็นอย่างดี” อาจารย์สมใจ กล่าว

อาจารย์สาโรจน์ ตั้งตฤษณกุล ศิลปินไร้แขนผู้เอาชนะอุปสรรคทางด้านร่างกายด้วยการสร้างสรรค์งานศิลปะจากความตั้งใจจริง กล่าวว่า ตนใช้เวลา 7 ปีในการฝึกฝนวาดภาพ จากการเรียนศิลปะจากอาชีวะลำปาง และปริญญาตรีที่เพาะช่าง รู้สึกภาคภูมิใจที่มีผลงานนิทรรศการศิลปะจัดแสดงสู่สาธารณชน ทำให้คนยอมรับว่าผลงานศิลปะคือความงามที่ช่วยจรรโลงโลก นอกจากผลงานชุด Portrait ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแล้ว ยังได้สร้างสรรค์ผลงานภาพประเภทอื่นๆ อีกด้วย เช่น ภาพชุดดอกไม้ ทะเล โดยพยายามวาดภาพให้มีความแปลกและแตกต่างจากงานของศิลปินที่มีร่างกายปกติ นอกจากจะวาดภาพให้เหมือนจริงแล้ว ยังต้องอาศัยเทคนิคการระบาย การแทรกสี และการทิ้ง background ที่มีชั้นเชิง ผลงานภาพวาดที่ตนประทับใจมากที่สุดคือภาพพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ ใช้เวลาในการเขียนภาพนานถึง 2 เดือน

ด.ช.ธีร์ธวัช ติยะสัตย์กุลโกวิท และ ด.ญ.ธัชชา พิทักษ์ศฤงคาร นักเรียนชั้น ป.2โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ  กล่าวว่า รู้สึกสนุกมากที่ได้มาชมงานศิลปะของศิลปินผู้นี้ ทำให้ได้ความรู้ทางด้านงานศิลปะ และได้แรงบันดาลใจจากศิลปินซึ่งฝึกฝนการวาดภาพด้วยความพยายามไม่ท้อแท้ ชอบภาพทุกภาพของศิลปินที่มีความสวยงามเหมือนจริงมาก ทำให้อยากวาดภาพสวยๆ เช่นนี้บ้าง

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า