รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มกราคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future” เมื่อวันพุธที่ 15 มกราคม 2568 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) พร้อมเปิดตัวระบบ “AI LUCA” และ “Virtual Patient” ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นทางการ
งาน “Chula-KBTG: AI for the Future” ในครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญในการนำเสนอเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการศึกษา ที่มุ่งยกระดับกระบวนการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตนักศึกษาในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในบริบทของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
เพื่อนำร่องความร่วมมือครั้งนี้ KBTG ได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีพัฒนา ระบบ AI LUCA นวัตกรรมสำหรับการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนการทำงานด้านวิชาการ วิชาชีพ และสังคม เช่น การสร้างคำถามข้อสอบ การตอบคำถามเชิงวิจัย และการอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไปจนถึงการเพิ่มระบบเข้าบัญชีเสริมความปลอดภัย การสร้างเมนูเฉพาะสำหรับอาจารย์ และการพัฒนาให้รองรับการใช้งานในหลากหลายสาขาวิชา ช่วยให้ทั้งนิสิตและคณาจารย์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ในการวิจัย ระบบ Virtual Patient หรือคนไข้จำลอง พัฒนาต้นแบบจำลองเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ เพื่อสร้างประสบการณ์และเสริมความเชี่ยวชาญให้แก่นักศึกษาแพทย์ เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สถานการณ์จริงในอนาคต
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนของจุฬาฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ KBTG เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับใช้ในการเรียนการสอน โดย AI ทั้งสองระบบที่ จุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับ KBTG กำลังพัฒนาขึ้นนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นและนิมิตหมายอันดีสำหรับความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และ KBTG และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “Chula Power of Togetherness” มีวัตถุประสงค์หลักคือการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนที่นำสมัย โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง และเพื่อขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่การเป็น “AI University” และการเป็น AI Hub ของภูมิภาคอาเซียนด้วย
“ในอนาคตอันใกล้ จะมีหลายอาชีพที่ถูกแทนที่ด้วย AI บทบาทของมหาวิทยาลัยในวันนี้ไม่ใช่เรื่องการศึกษา แต่เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศด้วย เราจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเอไอเป็นตัวเสริมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ” ศ.ดร.วิเลิศ กล่าว
คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า KBTG มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัลที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้กับคนไทยทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ KBTG Kampus ที่เน้นพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไอที รวมถึงการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาเฉพาะทาง เช่น การแพทย์และการบัญชี เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมการศึกษา ไปสู่การใช้งานจริงในภาคสาธารณชนต่อไป
คุณเรืองโรจน์ยังได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) ในการผลักดันการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเน้นให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้อย่างเท่าเทียม ผนวกกับการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับชั้น (Education Inclusion) พร้อมเสริมสร้างบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ KBTG ในฐานะผู้นำด้านการศึกษาการพัฒนางานวิจัยด้าน AI และเทคโนโลยีทางไอที ตามแนวคิด Human-First x AI First ของ KBTG ที่ต้องการดึงศักยภาพสูงสุดของมนุษย์และ AI มาผสานเข้าด้วย เพื่อสร้างประโยชน์และส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า สังคม และประเทศ ความร่วมมือนี้เป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและการศึกษาในระดับประเทศและระดับสากล
รพ.จุฬาลงกรณ์จับมือสภากาชาดไทย เปิดตัว “Check PD” แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90%
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
พิธีเปิดหลักสูตร TOP Green รุ่นที่ 1 จุฬาฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านความยั่งยืน
“Barter System Fair ตลาดนัด-แลก-พบ” ครั้งที่ 2 Chula Zero Waste ชวนแลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณผู้มีส่วนร่วมจัด “พิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก” และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
งานสวัสดีปีใหม่ 2568 ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้