รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มกราคม 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป “Check PD” เพื่อใช้ตรวจหาความเสี่ยงการเป็นพาร์กินสัน เหตุพบสถิติคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นและยังพบในคนอายุต่ำกว่า 60 ปี ชี้ความแม่นยำของการตรวจประเมินมีสูงถึง 90% พร้อมเชิญชวนคนไทยโดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไปโหลดแอปประเมินความเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที
การแถลงข่าวในครั้งนี้จัดเมื่อวันพุธที่ 15 มกราคม 2568 ณ โถงชั้น M อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีคุณเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวเปิดงานแถลงข่าว จากนั้นมีการเสวนาโดย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คุณศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักดนตรีชื่อดัง และ ผศ.(พิเศษ) ดร.พญ.จิรดา ศรีเงิน อาจารย์ประจำหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปิดท้ายด้วยการสาธิตการเข้าใช้งานแอป “Check PD”
คุณเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เปิดเผยว่า พาร์กินสันเป็นหนึ่งในโรคความเสื่อมทางระบบประสาทที่พบมากในผู้สูงอายุ และยังเป็นโรคที่มีอัตราการเกิดเพิ่มสูงที่สุดในกลุ่มโรคความเสื่อมทางระบบประสาทด้วยกัน คาดกันว่าในปี 2583 จำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว สำหรับประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ จากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุที่มากขึ้น และปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีผลทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในประเทศไทยเพิ่มสูงมากขึ้นตามสถานการณ์ปัจจุบัน และจากการที่การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันในระยะเริ่มต้นยังคงทำได้ยาก เพราะอาจจะมีอาการที่แสดงออกมายังไม่มาก อีกทั้งการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบประสาททำให้ผู้ป่วยในบางพื้นที่เข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาได้ยาก ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยโรคมีอาการที่ค่อนข้างมาก หรืออยู่ในระยะการดำเนินโรคระยะกลาง ทำให้การรักษาค่อนข้างยากและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง อีกทั้งตัวผู้ป่วยเองยังอาจเกิดความทุพพลภาพ และส่งผลต่อคุณภาพในการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคนี้แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก ก็สามารถวางแผนการรักษาและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รศ. นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า แอปพลิเคชัน Check PD เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยการตรวจพบโรคพาร์กินสันตั้งแต่ระยะแรกของการดำเนินโรค มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชัน Check PD นี้ถือเป็นความสำเร็จในความร่วมมือที่สำคัญ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่สามารถช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน สามารถวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และการรักษาได้อย่างเหมาะสม
ศ. นพ. รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่ไม่ได้แสดงอาการทันที แต่มีระยะเวลาของการเตือนและระยะเวลาของการดำเนินโรคที่ค่อนข้างนาน เฉลี่ยนานถึง 10-20 ปี โดยอาการที่ชัดเจนคืออาการสั่น ส่วนอาการเตือนอื่นๆ เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง อาการนอนละเมอ ออกท่าทางหรือออกเสียงที่สัมพันธ์กับเนื้อหาความฝัน ฯลฯ มักถูกมองว่าไม่ใช่อาการผิดปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวไม่คิดว่าตนเองเป็น จึงไม่ได้พบแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที จากการที่อาการของโรคพาร์กินสัน ส่งผลให้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะพาร์กินสันเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการทรงตัว ผู้ที่มีอาการมาก จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองลำบาก มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแล ดังนั้นหากสามารถตรวจเช็กได้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว เพื่อหาทางป้องกันหรือลดความรุนแรงของอาการได้ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับผู้ป่วย เพราะพาร์กินสันเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบได้เร็ว
นอกจากผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหลักแล้ว ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน จากสถิติที่พบว่าปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันพบในผู้ป่วยอายุน้อยลง และพาร์กินสันเป็นโรคที่มีระยะเวลาในการดำเนินโรคค่อนข้างนาน ดังนั้นการที่สามารถตรวจเช็กได้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงของการเป็นโรคพาร์กินสัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะหาทางป้องกัน หรือเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อลดอาการรุนแรงของโรค” ศ. นพ. รุ่งโรจน์กล่าว
“ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ ได้ร่วมกับทางสภากาชาดไทยในการพัฒนาแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคพาร์กินสัน หรือแอป CHECK PD ขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคพาร์กินสัน ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน โดยสามารถตรวจเช็กความเสี่ยงการเป็นโรคพาร์กินสันได้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยใช้เวลาประมาณ 25 นาทีในการทำแบบประเมินความเสี่ยง 20 ข้อ ซึ่งการเช็กนี้มีทั้งการตอบคำถาม การทดสอบขยับนิ้ว การทดสอบอาการสั่น การทดสอบการทรงตัว การทดสอบการออกเสียง หลังจบทุกขั้นตอนการเช็กแล้ว สามารถกดรับผลในแอปพลิเคชันได้ทันที ซึ่งผลที่ได้ให้ความแม่นยำสูงถึง 90% สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CHECK PD ได้แล้ววันนี้ทั้งแอปสโตร์และเพลย์สโตร์
ทั้งนี้เพื่อให้แอปพลิเคชัน Check PD เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคพาร์กินสัน อีกทั้งยังเป็นการร่วมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันทั่วประเทศ และส่งต่อระบบสาธารณสุขเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
สภากาชาดไทยขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกันบริจาคในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสัน หรือร่วมบริจาคเงิน 76 บาท ภายใต้แคมเปญ “พาร์พบแพทย์” เพื่อร่วมค้นหา คัดกรอง ช่วยเหลือผู้ป่วยพาร์กินสันกว่า 76 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งการบริจาคสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
ผู้สนใจสามารถร่วมสนับสนุนโครงการได้โดยบริจาคเงินผ่านบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี สภากาชาดไทย สำนักงานจัดหารายได้ เลขที่บัญชี 045-2-62588-8 ภายหลังโอนเงินบริจาคแล้วสามารถส่งหลักฐานการโอนเงิน แจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์และหมายเลขบัตรประชาชน (เพื่อใช้ในการยื่นลดหย่อนภาษี) ระบุว่า “ค้นหาพาร์กินสัน พาผู้ป่วยพบแพทย์” แล้วส่งเอกสารมาที่ Email: donation@redcross.or.th เพื่อทางสภากาชาดไทยจะได้ดำเนินการจัดส่งใบเสร็จรับเงินสำหรับการยื่นลดหย่อนภาษีต่อไป
ส่วนในกรณีที่บริจาคผ่าน QR CODE e-Donation สามารถลดหย่อนภาษี 2 เท่า เฉพาะเจ้าของบัญชีเท่านั้น โดยไม่ต้องนำหลักฐานเพื่อออกใบเสร็จรับเงิน ข้อมูลการบริจาคส่งตรงไปยังสรรพากรโดยอัตโนมัติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0-2354-3588 www.incom.co.th หรือทื่คุณอุษณีย์ ถาวรกาญจน์ โทร.08-1984-5500 Email : usanee@incom.co.th
จุฬาฯ จัดงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 “Chula-KBTG: AI for the Future” พร้อมลงนาม MOU ร่วมกับ KBTG เปิดตัวระบบ AI LUCA และ Virtual Patient
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
พิธีเปิดหลักสูตร TOP Green รุ่นที่ 1 จุฬาฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านความยั่งยืน
“Barter System Fair ตลาดนัด-แลก-พบ” ครั้งที่ 2 Chula Zero Waste ชวนแลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณผู้มีส่วนร่วมจัด “พิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก” และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
งานสวัสดีปีใหม่ 2568 ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้