รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 กรกฎาคม 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ร่วมลงนามความร่วมมือการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ “ก้าวใหม่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยจัดทำอุปกรณ์ขาเทียมและกายอุปกรณ์เสริมตัวประคองข้อเท้า เพื่อมอบให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ผู้พิการที่ด้อยโอกาสได้เข้าถึงนวัตกรรมที่ทันสมัย เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการด้วยกายอุปกรณ์ขาและเท้าเทียมคุณภาพสูง
ทั้งนี้ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกายอุปกรณ์และสิ่งปลูกฝังทางออร์โธปิดิกส์ (Center of Excellence for Prosthetic and Orthopedic Implant) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอการพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส S-Pace ซึ่งทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ทนทาน แข็งแรง มีน้ำหนักเบา และสามารถผลิตได้ในประเทศไทย ผ่านการทดสอบความแข็งแรงตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO 10328 จากศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยมีจังหวะการเดินสอดคล้องกับเท้าปกติ
โรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอการพัฒนานวัตกรรม เบ้าอ่อนขาเทียมแบบถุงซิลิโคน (Low Cost Local Made Silicone Liner) ซึ่งมีคุณภาพสูงทัดเทียมกับสินค้าจากต่างประเทศที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งสามารถลดต้นทุนการนำเข้า ช่วยอำนวยความสะดวกในการสวมใส่ และลดการเสียดสีระหว่างผู้สวมกับอุปกรณ์
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้