รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 มกราคม 2568
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ Beijing University of Posts and Telecommunications (BUPT) จัดงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยเน้นเฉพาะนักพัฒนาระบบคลาวด์ ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ร่วมกันในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งอาเซียน ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้ร่วมในงานครั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ณ ศาลาพระเกี้ยว
งาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition จัดขึ้นภายใต้ธีม “Spark Infinity: Innovate Today, Transform Tomorrow” โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมทั้งมีการนำเสนอแนวคิดจากวิทยากร การแสดงโซลูชัน และการเสวนาเชิงลึก ไฮไลท์สำคัญของงานคือ การแข่งขัน Huawei Developer Competition โดยมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมดเกือบ 200 ทีม รวมผู้เข้าร่วมกว่า 600 คน ร่วมกันแก้ปัญหาในโลกจริงด้วยระบบนิเวศที่ครอบคลุมของหัวเว่ย อาทิ API Explorer, CodeArts, ModelArts และ DataArts Studio การแข่งขันนี้เน้นความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน รวมถึงการเร่งการนำ AI มาใช้บนระบบคลาวด์และการพัฒนาเครือข่ายนักพัฒนาระบบที่แข็งแกร่ง ซึ่งงานนี้ได้รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรม นักพัฒนา และนักวิชาการกว่า 300 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องการเพื่อก้าวไปข้างหน้าในยุคอัจฉริยะ การทำงานร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมให้นิสิตในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศได้ดียิ่งขึ้น”
ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Asia Pacific Cloud AI Forum เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้าน AI และนวัตกรรมดิจิทัล เราสนับสนุนนโยบาย “การใช้คลาวด์เป็นหลัก” (Cloud-First Policy) และ ”ปัญญาประดิษฐ์” (AI) ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ”
หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบาย Cloud-First และ AI โดยการนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัย แพลตฟอร์ม AI และโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ นโยบาย Cloud-First ของประเทศไทยถือเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยกำหนดให้หน่วยงานรัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ AI Thailand (2565-2570) มุ่งสร้างระบบนิเวศที่บูรณาการ AI ในทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ดร.ชวพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “หัวเว่ยเชื่อว่านักพัฒนาคือสถาปนิกของยุคอัจฉริยะ ความคิด โค้ด และแรงผลักดันของพวกเขาคือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยเกือบ 100,000 คน รวมถึงนักพัฒนา AI บนระบบคลาวด์ขั้นสูงเกือบ 12,000 คน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่งผ่านโครงการ ICT Academy เช่น การแข่งขัน โครงการฝึกอบรม การฝึกงาน และการให้คำปรึกษาทางเทคนิค ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโตและนวัตกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในการสำรวจศักยภาพของ Cloud AI และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต”
ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถาบันร่วมก่อตั้ง “Huawei Academy” Beijing University of Posts and Telecommunications (BUPT) ได้แบ่งปันประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงจาก 3 มิติสำคัญ ได้แก่ การบูรณาการอุตสาหกรรมและการศึกษา การศึกษาอัจฉริยะ และการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล “ในฐานะศูนย์ฝึกอบรมสำคัญสำหรับบุคลากรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและแหล่งนวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีที BUPT มุ่งมั่นในการสำรวจโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ กับภาคเอกชน และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น UNTES Future Learning Center ซึ่งมุ่งเน้นการเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับยุคอัจฉริยะ” หวัง เหยา ผู้อำนวยการสำนักงานระหว่างประเทศ BUPT กล่าว
ในงานดังกล่าว ทีมผู้ชนะได้แบ่งปันกรณีศึกษาที่นำการนวัตกรรมบนแพลตฟอร์ม HUAWEI CLOUD ไปประยุกต์ใช้ เช่น การพัฒนาระบบเสริมการบำบัดการพูดทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้การสนับสนุนการรักษาที่มีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษา การออกแบบระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการอาคารผ่านการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของนักพัฒนาในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศไทยกว่า 10 ราย ได้จัดงาน Job Fair เพื่อสร้างแพลตฟอร์มให้กับองค์กรชั้นนำได้เชื่อมโยงกับนักพัฒนาและนักศึกษาที่มีความสามารถ ช่วยในการคัดเลือกและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการสำรวจความร่วมมือในอนาคต เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่มีความคล่องตัวและยั่งยืน
สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขัน Huawei Developer Competition จะได้รับรางวัลรวมมูลค่า 34,000 ดอลลาร์สหรัฐ การฝึกอบรมทางเทคนิคที่มุ่งเน้นด้าน HUAWEI CLOUD พร้อมโอกาสในการร่วมมือกับหัวเว่ยในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษและการเสวนา ในงานครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568
22 มกราคม 2568 เวลา 08.30 น.
หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้